เขื่อนลำปาว
เขื่อนลำปาว
        เขื่อนดินซึ่งสร้างปิดกั้นลำน้ำปาว และห้วยยาง มีบริเวณเขตติดต่อระหว่างตำบลลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี และตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด ตามเส้นทางหมายเลข 209 ทางหลวงสายกาฬสินธุ์-มหาสารคาม ตรงหลักกิโลเมตรที่ 10 แยกขวามือเข้าเขื่อนลำปาวตามถนนลาดยาง 26 กิโลเมตร
        เป็นเขื่อนดินสูงจากท้องน้ำ 33 เมตร สันเขื่อนยาว 7.8 เมตร กว้าง 8 เมตร ปิดกั้นลำน้ำปาวและห้วยยางที่บ้านหนองสองห้อง ตำบลลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำแฝดทางด้านเหนือเขื่อน จึงได้ขุดร่องเชื่อมระหว่างอ่างทั้งสอง เก็บน้ำได้ 1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร ........สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาอุทกภัยและเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจได้แก่ หาดดอกเกด ซึ่งเปรียบเสมือนสวรรค์ชายหาดของคนอีสาน
  .....สมัยกรุงธนบุรีประมาณ พ.ศ. 2310 พระเจ้าองค์เวียนดาแห่งนครเวียงจันทร์ ได้สิ้นพระชนม์ โอรสท้าวเพี้ยเมืองแสนได้ยกกองทัพเข้ายึดเมืองเวียงจันทรน์ และได้สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
สืบแทน ทรงพระนามว่า "พระเจ้าสิริบุญสาร"
.....พ.ศ. 2320 ท้าวโสมพะมิตร และอุปฮาดเมืองแสนฆ้องโปง เมืองแสนหน้าง้ำได้เกิดขัดใจ
กับพระเจ้าสิริบุญสารจึงรวบรวมผู้คนอพยพจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ข้ามมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณลุ่มน้ำก่ำ
แถบบ้านพรรณา(ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร) ต่อมาท้าวสิริบุญสารได้ยกกองทัพติดตามมา
ท้าวโสมพะมิตร และพรรคพวกจึงอพยพต่อไปโดยแยกเป็น 2 สาย คือ
.....สายที่ 1 มีเมืองแสนหน้าง้ำเป็นหัวหน้า อพยพไปทางทิศตะวันออกสมทบกับพระวอหลบหนีไป
จนถึงนครจำปาศักดิ์ และตั้งบ้านเรือน ณ ดอนค้อนกอง ต่อมาเรียกว่า "ค่ายบ้านดู่บ้านแก"
ในปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าสิริบุญสาร ให้เพี้ยสรรคสุโภย ยกกองทัพมาปราบ พระวอตายในสนามรบ
ผู้คนที่เหลือจึงอพยพไปอยู่ในเกาะกลางลำแม่น้ำมูล ชื่อว่า "ดอนมดแดง"(ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี)
.....สายที่ 2 มีท้าวโสมพะมิตรเป็นหัวหน้า ได้อพยพข้ามสันเขาภูพานลงมาทางใต้และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกลางหมื่น ต่อมาท้าวโสมพะมิตรได้ส่งท้าวตรัยและคณะออกเสาะหาชัยภูมิที่จะสร้างเมืองใหม่ใช้เวลาประมาณปีเศษจึงพบ ทำเลที่เหมาะสมคือบริเวณลำน้ำปาวและเห็นว่าแก่งสำโรงชายสงเปลือยมีดินน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนและได้จัดตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขึ้น
.....พ.ศ. 2334 ท้าวโสมพะมิตรได้นำเครื่องบรรณาการ คือ กาน้ำสัมฤทธิ์ เข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี และขอตั้งบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมืองได้รับพระราชทานนามว่า "กาฬสินธุ์" และได้แต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตรเป็น "พระยาชัยสุนทร"
.....พ.ศ.2437 สมัยพระยาชัยสุนทร(ท้าวเก) ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาลมี
มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และให้เมืองกาฬสินธุ์ เป็น "กิ่งอำเภออุทัยกาฬสินธุ์" ขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด
วันที่ 1 สิงหาคม 2456 ได้ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" ให้มีปกครอง
.....อำเภออุทัยกาฬสินธุ์
.....อำเภอสหัสขันธ์
.....อำเภอกุฉินารยณ์
.....อำเภอกมลาไสย และ
.....อำเภอยางตลาด โดยให้ขึ้นตรงต่อมณฑลร้อยเอ็ด
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2474 จังหวัดกาฬสินธุ์ ถูกยุบเป็นอำเภอ ข้นตรงต่อจังหวัดมหาสารคาม
วันที่ 1 ตุลาคม 2490 ได้ยกฐานะเป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" จนถึงปัจจุบัน
การตั้งเมืองกาฬสินธุ์
            กลุ่มเจ้าโสมพะมิตเข้าไปตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านผ้าขาว บ้านพันนา ในลุ่มน้ำสงคราม บริเวณใกล้พระธาตุเชิงชุมในเขตจังหวัดสกลนครปัจจุบัน ขณะนั้นมีไพร่พลประมาณ ๕,๐๐๐ คนเศษ ต่อมาได้อพยพไพร่พลของตนข้ามเทือกเขาภูพานไปอาศัยอยู่ที่บ้านกลางหมื่น (ปัจจจุบันอยู่ในตำบลกลางหมื่น อำเภอเมือง ฯ ) ต่อมาได้อพยพไปอยู่บริเวณแก่งสำเริง ริมแม่น้ำปาว ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน แล้วได้ลงไปเฝ้า ฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่กรุงเทพ ฯ  ขอพระราชทานตั้งเมืองทำราชการขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ
            ขอพระราชทานตั้งเมือง ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ เจ้าโสมพะมิตได้ส่งบรรณาการต่อกรุงเทพ ฯ โดยผ่านทางเวียงจันทน์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๓๖ เจ้าโสมพะมิตได้ลงไปกรุงเทพ ฯ ขอพระราชทานตั้งเมือง และได้มีพระบรมราชโองการ ฯ ยกฐานะบ้านแก่งสำเริง ขั้นเป็นเมืองกาฬสินธุ์ และโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าโสมพะมิตเป็นที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ต่อมาถึงปี พ.ศ.๒๓๔๕ ได้มอบให้ท้าวหมากแพง บุตรพระอุปชาเป็นผู้ว่าการเมืองกาฬสินธุ์ต่อมา
            อาณาเขตเมืองกาฬสินธุ์  ได้กำหนดไว้กว้าง ๆ คือทิศเหนือตั้งแต่แม่น้ำพองข้างเหนือมาตกแม่น้ำชีข้างตะวันตก ทิศตะวันออกตั้งแต่ลำน้ำพองตัดลัดไปห้วยไพรธาร ไปเขาภูทอกศอกดาว ตัดไปบ้านผ้าขาวพันนา บ้านเดิมยอดลำน้ำสงครามตกแม่น้ำโขงเขตฝ่ายตะวันออก ต่อแดนเมืองนครพนม และเมืองมุกดาหาร ผ่านภูเขาภูพานตัดมาถึงภูหลักทอดยอดยังแต่ยอดยังตกแม่น้ำลำพระชัย เป็นเขตข้างใต้ ทิศตะวันตกลำน้ำพระชัยต่อแดนเมืองร้อยเอ็ด และต่อแดนเมืองยโสธร
            การจัดระเบียบสังคม  ยึดเอาแบบอย่างเวียงจันทน์ โดยแบ่งออกเป็น
                ชนชั้นผู้ปกครอง ทำตามแบบแผนการปกครองในอาณาจักรศรีสัตนาคนหุต ในการกำหนดตำแหน่งต่าง ๆ ของข้าราชการ ได้แก่ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร เสนาฝ่ายขวา เสนาฝ่ายกลาง เสนาฝ่ายซ้าย พวกทหารอาสาและกรมการเมือง มีหน้าที่ควบคุมดูแลไพร่พลตามลำดับไปจนถึงหมู่บ้านซึ่งเรียกว่านายกองและนายหมวดในที่สุด
                ชนชั้นถูกปกครอง  รวมเรียกว่าเลกหรือไพร่ ชายฉกรรจ์จัดเป็นเลกที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้แก่ชนชั้นผู้ปกครอง ถ้าไม่สามารถทำงานให้แก่มูลนายได้ เลกเหล่านี้ก็สามารถส่งสิ่งของแทนการถูกเกณฑ์ได้ตามความเหมาะสม หรือตามที่มูลนายกำหนด
                สตรีและเด็ก  ในบัญชีเลกไพร่ จะระบุจำนวนสตรี และเด็กให้ทราบเท่านั้นว่าสังกัดกองใด มีผู้ใดเป็นนายกอง  หน้าที่ของสตรีคือ การทอผ้า ทำนาและประกอบอาชีพตามสภาพท้องถิ่น ส่วนเด็กถือได้ว่าจะเป็นเลกไพร่ในโอกาสต่อไป
                ภิกษุสามเณร  ได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงานหรือสิ่งของ จากเจ้าเมือง กรมการเมือง
            การปกครองหัวเมืองกาฬสินธุ์ ได้นำแบบอย่างการปกครองของอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ โดยจัดสรรตามตำแหน่งข้าราชการคือ
                คณะอาญาสี่ คือกลุ่มข้าราชการชั้นสูง ประกอบด้วยเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์และราชบุตร
                คณะผู้ช่วยอาญาสี่   ประกอบด้วยตำแหน่งท้าวผู้ใหญ่สี่ตำแหน่งคือท้าวสุริยาหรือท้าวขัตติยา ท้าวสุริโย ท้าวโพธิสาร และท้าวสิทธิสารหรือท้าวอินทิสาร
                เขื่อบ้านขางเมือง  คือ ตำแหน่งต่าง ๆ ที่เป็นกลไกสำคัญในการบริหารบ้านเมืองด้านต่าง ๆ  ตำแหน่งระดับนี้เรียกว่า เพียผู้ใหญ่ ประกอบด้วยตำแหน่งต่าง ๆ คือ เมืองแสน เมืองจัน เมืองกลาง เมืองขวา เมืองซ้าย เมืองคุก เมืองฮาม และเมืองแพนนาเหนือนาใต้ ชาเนตรชานนท์ มหาเสนา มหามนตรี
                ท้าวน้อยและเพียน้อย  เป็นกลุ่มข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือชั้นประทวน
            การแต่งตั้งเจ้าเมือง กรมการเมือง ตำแหน่งในอาญาสี่ ได้รับแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ เจ้าเมืองจะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระหรือพระยา  ส่วนตำแหน่งอุปฮาด ราชวงศ์และราชบุตร ไม่มีบรรดาศักดิ์เฉพาะ เรียกชื่อตามตำแหน่ง  การเสนอชื่อผู้สมควรได้รับตำแหน่งในอาญาสี ต้องได้รับความเห็นชอบ และสนับสนุนจากกรมการเมืองเสียก่อน แล้วจึงมีใบบอกไปกราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง มีสัญญาบัตรตราตั้งเป็นสำคัญ  ผู้ได้รับแต่งตั้งจะต้องเดินทางลงไปรับพระราชทานสัญญาบัตร และเครื่องยศที่กรุงเทพ ฯ
            ตามแบบแผนประเพณี  เจ้าเมือง กรมการเมือง เป็นตำแหน่งตลอดชีพ  แต่ถ้าเจ้าเมืองชราภาพเกินกว่าจะปกครองบริหารเมือง ได้ก็จะกราบถวายบังคมลาออกเอง และจะได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นที่ปรึกษาราชการของเมือง
            การสืบทอดตำแหน่งเจ้าเมือง กรมการเมือง ตำแหน่งในอาญาสี มักสืบทอดกันทางสายเลือด  เมื่อเจ้าเมืองถึงแก่กรรม อุปฮาดมักได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าเมืองต่อไป อุปฮาดมักเป็นน้องชายหรือบุตรชายคนโตของเจ้าเมือง แต่ไม่ใช่เป็นการตายตัวเสมอไป
            เจ้าเมืองและกรมการเมืองไม่มีเงินเดือนประจำหรือเบี้ยหวัด แต่จะได้รับผลตอบแทนในลักษณะต่าง ๆ คือได้เลื่อนตำแหน่ง
เมื่อมีความชอบในราชการสงคราม ได้รับแรงงานและผลประโยชน์เงินส่วยจากเลกทนาย กล่าวคือเจ้าเมือง กรมการเมือง จะมี
เลกทนายไว้ใช้งานเป็นกองของแต่ละตำแหน่ง มีเลกไพร่จำนวนเท่าใดจะแบ่งออกเป็นสามส่วน เลกไพร่สองส่วนให้ถือเป็นเลกส่วย
ที่จะต้องเก็บส่วยส่งไปยังราชสำนัก ที่เหลืออีกหนึ่งส่วนยกไว้เป็นเลกทนายหรือเลกยกคงเมืองของเจ้าเมือง กรมการ ท้าวเพีย ตลอดจนนายหมวด นายกองหรือท้าวฝ่ายตาแสง กำนัน จ่าบ้านและนายบ้าน
            การสักเลก  เลกหมายถึงชายฉกรรจ์ที่มีความสูงเสมอไหล่ ๒.๕ ศอกขึ้นไป จนถึงอายุ ๗๐ ปี  การสักคือการเอาเหล็กแหลม แทงตามเส้นหมึกที่เขียนไว้เป็นตัวอักษร บอกชื่อเมือง ชื่อมูลนายที่สังกัด โดยสักที่ข้อมือด้านหน้า หรือด้านหลังมือ
            ทั้งหัวเมืองกาฬสินธุ์ในปี พ.ศ.๒๓๙๒ มีเลกรวมทั้งสิ้น ๔,๓๘๗ คน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงยกเลิกการสักเลก โดยให้มีการสำรวจสำมะโนครัวแทน
            การเก็บส่วย  ส่วย หมายถึง สิ่งของหรือเงินที่เลกหัวเมืองส่งให้แก่ทางราชการ เพื่อทดแทนการที่เลกไปรับราชการหรือถูกเกณฑ์แรงงาน
            สาเหตุที่เลกเมืองกาฬสินธุ์ต้องส่งส่วยให้กับกรุงเทพ ฯ ก็เพื่อเป็นการตอบแทนต่อรัฐบาลในฐานะที่ได้รับการคุ้มครองจากทางกรุงเทพ ฯ ในเชิง "พึ่งพระบรมโพธิสมภาร" รวมทั้งการที่เจ้าเมือง กรมการเมือง ได้รับพระราชทานยศ อำนาจและรางวัลจากทางกรุงเทพ ฯ
            การเกณฑ์ส่วยเริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๗๓ - ๒๓๗๕ ทางกรุงเทพ ฯ ได้ส่งข้าหลวงคือขุนพิทักษ์ และหมื่นภักดีมาสักเลกที่เมืองกาฬสินธุ์ในปี พ.ศ.๒๓๖๗ เพื่อกำหนดเกณฑ์ส่วยสำหรับหัวเมืองกาฬสินธุ์ผูกส่วย ผลเร่ง (หมากเหน่ง)  เงิน กระวานและสีผึ้ง ต่อทางราชการ  ถ้าหาสิ่งของดังกล่าวไม่ได้ก็จะต้องชำระเงินส่วยคนละ ๔ บาทต่อปี
            ธรรมเนียมการเกณฑ์ส่วยได้ตั้งเกณฑ์สำหรับเลกแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มไว้เป็นอัตราที่แน่นอน เช่น กำหนดให้เลก ๕ คน ต่อผลเร่งหนัก ๑ หาบ ซึ่งคิดเป็นเงินได้ ๕ ตำลึง  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เงิน ค่าราชการ  แต่สำหรับมณฑลอีสานยังคงเก็บจากเลกคนละ ๔ บาทเช่นเดิม จนถึงปี พ.ศ.๒๔๖๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเปลี่ยนชื่อเรียกว่า เงินรัชชูปการ ซึ่งก็ยังคงเรียกเก็บจากเลกคนละ ๔ บาทเช่นเดิม  เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์ มีอยู่ ๗ หัวเมืองด้วยกันคือ
                เมืองท่าขอนยาง ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านท่าขอนยาง ริมลำน้ำชี ขึ้นเป็นเมืองท่าขอนยาง ให้พระคำก้อนเป็นพระสุวรรณภักดี เจ้าเมือง  ให้อุปฮาดเมืองคำเกิดเป็นอุปฮาด ให้ราชวงศ์ และราชบุตรเมืองคำเกิดเป็นราชวงศ์และราชบุตรทำราชการขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์
                เมืองแซงบาดาล  ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ บ้านบึงกระดานได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองแซงบาดาล ให้อุปฮาด (คำแดง) เมืองคำม่วน เป็นพระศรีสุวรรณ เจ้าเมือง
                เมืองกุดสินนารายณ์  ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ บ้านกุดกว้างได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองกุดฉิมนารายณ์ ให้ราชวงศ์ (กอ) เมืองวัง เป็นพระธิเบศร์วงศา เจ้าเมือง
                เมืองภูช้างแล่น  ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ บ้านเถึยงมาชุมได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองภูแล่นช้าง  ให้หมื่นเดช คนเมืองเวียงจันทร์ เป็นพระพิชัยอุดมเดชเป็นเจ้าเมือง
                เมืองกมลาไสย  ในปี พ.ศ.๒๔๐๙ ราชวงศ์เกษ เมืองกาฬสินธุ์ ได้อพยพพาไพร่พลไปตั้งอยู่ที่บ้านสระบัว แล้วขอพระราชทานตั้งเมือง และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกขึ้นเป็นเมืองกมลาไสย ในระยะแรกขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ ภายหลังได้ขอแยกตัวไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ
                เมืองสหัสขันธ์  ในปี พ.ศ.๒๔๑๐ ท้าวเสนได้พาสมัครพรรคพวก อพยพออกจากเมืองกาฬสินธุ์ไปตั้งอยู่ที่บ้านโคกพันลำ แล้วขอพระราชทานตั้งเมือง และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกขึ้นเป็นเมืองสหัสขันธ์ ให้ท้าวเสนเป็นเจ้าเมือง ขึ้นต่อเมืองกมลาไสย
                เมืองกันทรวิชัย  ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านคันธารีขึ้นเป็นเมืองกันทรวิชัย ขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ ให้เพียคำมูลเป็นพระประทุมวิเศษ เป็นเจ้าเมือง
            พัฒนาการทางการเมืองการปกครอง  เมืองกาฬสินธุ์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ โดยมีพระยาไชยสุนทร (เจ้าโสมพะมิต) เป็นเจ้าเมือง และท้าวคำหวาเป็นอุปฮาด เมื่อทั้งสองคนถึงแก่กรรมแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ท้าวหมาแพง บุตรพระอุปชา เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง ท้าวหมาสุ่ย และท้าวหมาฟอง บุตรเจ้าโสมพะมิต เป็นอุปฮาด และราชวงศ์ตามลำดับ
            เมื่อเกิดความขัดแย้งสงครามเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ.๒๓๖๙ - ๒๓๗๐)  เจ้าอุปราช (ดิสสะ) ได้ยกกองทัพมากวาดต้อนครอบครัวเมืองกาฬสินธุ์ พระยาไชยสุนทร (หมาแพง)  ถูกจับประหารชีวิต พร้อมอุปฮาด (หมาสุ่ย) และราชวงศ์โคตรด้วย
            เมื่อเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี)  ยกกองทัพขึ้นมาปราบ ได้กวาดต้อนเลกไพร่ เมืองกาฬสินธุ์ กลับมาอยู่บ้านเมืองตามเดิม แล้วเสนอชื่อคณะอาญาสี่ กรมการเมืองกาฬสินธุ์ ขอพระราชทานตั้งท้าววรบุตร (เจี๋ยม) น้องชายพระยาไชยสุนทร (หมาแพง) เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง ปกครองเมืองกาฬสินธุ์ได้ ๑๑ ปี ก็ถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ.๒๓๘๑ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๘๓ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้แต่งตั้งอุปฮาด (หล้า)  เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง และได้ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๗  อุปฮาด (ทอง) บุตรพระยาไชยสุนทร (เจียม) ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน และได้ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๔  อุปฮาด (กิ่ง) ได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง และได้ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๓  อุปฮาด (หนู) ได้รับสัญญาบัตรตั้งให้เป็น พระยาไชยสุนทร เจ้าเมือง
            ในปี พ.ศ.๒๔๓๓  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้แบ่งการปกครองหัวเมืองลาวตะวันออก ออกเป็นสี่กอง โปรดเกล้า ฯ ให้ นายสุดจินดา (เลื่อน) เป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองกาฬสินธุ์ กมลาไสย และภูแล่นช้าง เมืองดังกล่าวนี้จัดอยู่ในหัวเมืองลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๗ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลลาวกาว และเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอีสาน ในปี พ.ศ.๒๔๔๓ หัวเมืองกาฬสินธุ์อยู่ในบริเวณร้อยเอ็ด
            ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๐ เมืองกาฬสินธุ์ และเมืองกมลาสัย ถูกจัดอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด คือปี พ.ศ.๒๔๕๕ ถึงปี พ.ศ.๒๔๖๙  ได้จัดเป็นมณฑลร้อยเอ็ด จังหวัดกาฬสินธุ์อยู่ในมณฑลนี้ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๙  จังหวัดกาฬสินธุ์ก็ถูกโอนไปสังกัดมณฑลนครราชสีมา แล้วถูกยุบเป็นอำเภอหลุบ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ ไปสังกัดจังหวัดมหาสารคาม จนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๐ จึงได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดอีกครั้งหนึ่ง
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
            เมื่อต้นสมัยรัตนโกสินทร ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๒๕ นั้น บริเวณที่ราบสูงโคราชได้มีชุมชนชาวลาว ที่อพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาอาศัยอยู่หลายกลุ่ม เกิดเป็นชุมชนเมืองใหญ่ อันได้แก่ เมืองนครพนม เมืองอุบล ฯ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นต้น ชุมชนเหล่านี้ขึ้นต่อกรุงเทพ ฯ โดยผ่านนครเวียงจันทน์ ในฐานะข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงเทพ ฯ  โดยมีการส่งบรรณาการเป็นส่วยต่อกรุงเทพ ฯ
            แนวนโยบายด้านการเมือง การปกครอง ของกรุงเทพ ฯ ต่อหัวเมืองกาฬสินธุ์  ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๓๕๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ยังไม่มีรูปแบบการปกครองต่อหัวเมืองส่วนภูมิภาค ที่กำหนดไว้ชัดเจน ทางกรุงเทพ ฯ ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายในของหัวเมืองแต่อย่างใด อำนาจที่มีต่อหัวเมืองคือ การแต่งตั้งเจ้าเมือง กรมการเมือง แล้วให้บริหารบ้านเมืองไปตามธรรมเนียม การปกครองที่ยึดถือปฎิบัติกันมา
            การติดต่อราชการระหว่างเมืองกาฬสินธุ์ กับกรุงเทพ ฯ นั้น การรายงานข้อราชการของเมืองใช้ใบบอก สำหรับทางกรุงเทพ ฯ ใช้สารตราของสมุหนายก หรือเป็นท้องตราราชสีห์ สำหรับพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ ใบบอกของเมืองกาฬสินธุ์ จะส่งรายงานเข้าไปยังคณะลูกขุน ณ ศาลา ซึ่งคณะลูกขุนมีหน้าที่ประชุมข้อราชการ หัวเมืองที่อยู่ในความครบคุมบังคับบัญชาของฝ่ายมหาดไทย ส่วนการสั่งการของทางกรุงเทพ ฯ ต่อหัวเมืองกาฬสินธุ์ ผู้มีอำนาจคือ เจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก ซึ่งจะสั่งการโดยใช้ตราสาร หรืออาจเป็นหนังสือ สำหรับใบบอกของหัวเมืองกาฬสินธุ์ ผู้มีอำนาจลงนามคือ ตำแหน่งตั้งแต่เพียผู้ใหญ่ ท้าวผู้ใหญ่ ไปจนถึงคณะอาญาสี่ ตราประทับประจำตำแหน่งเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ คือ ตราเทวดาถือดอกบัว ตราประจำตำแหน่งเจ้าเมืองกมลาไสย คือ รูปเทวดานั่งแท่น ส่วนตราประจำเมืองกมลาไสย เป็นรูปม้า มีนามอักษรเมืองอยู่บนหลังม้า
           บทบาทเมืองกาฬสินธุ์  บทบาทและหน้าที่จะต้องปฎิบัติต่อทางกรุงเทพ ฯ มีดังนี้
               การส่งส่วยบรรณาการ  เพื่อเป็นการตอบแทนในฐานะที่ได้พึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตลอดจนการที่เจ้าเมือง กรมการเมือง ได้รับพระราชทานยศ บรรดาศักดิ์ อำนาจและรางวัลจากราชสำนัก
                การเกณฑ์กำลังคน  เข้ากองทัพในราชการสงคราม ในปี พ.ศ.๒๓๕๓  เกิดสงครามกับเขมร และญวน เจ้าพระยาจักรีได้มีหนังสือถึงเจ้าเมือง กรมการเมือง ให้เกณฑ์กองทัพพร้อมด้วยเครื่องศาสตราวุธ เสบียงอาหาร กระสุนดินดำ เตรียมไว้ให้พร้อม ซึ่งได้ถือเป็นธรรมเนียมปฎิบัติของแผ่นดินสืบต่อกันมา เมื่อเกิดศึกสงครามกับภายนอก หรือความไม่สงบเรียบร้อยภายใน ส่วนกลางจะมีใบบอกให้ทางหัวเมืองเกณฑ์กองทัพมาช่วย หากเพิกเฉยไม่ปฎิบัติถือว่า เอาใจออกห่าง กระด้างกระเดื่อง จะถูกดำเนินการตามอาญาแผ่นดินต่อไป
                การเกณฑ์แรงงาน  เป็นหน้าที่ของหัวเมืองที่จะเกณฑ์เลกชายฉกรรจ์ ไปทำงานให้ทางราชการ เมื่อได้รับการร้องขอ เช่น สร้างวัด ขุดคลอง ทำถนน สร้างป้อมค่าย เป็นต้น
                ภาระหน้าที่อื่น ๆ  ได้แก่ การเก็บข้าว จากราษฎรเพื่อตวงเข้ายุ้งฉางหลวงไว้เป็นเสบียง สำหรับพระนคร มีการส่งเจ้านายจากทางกรุงเทพ ฯ ออกไปตรวจราชการ มีการกำหนดให้ เดินสวน - เดินนา คือ ออกตรวจตราเก็บผลประโยชน์จากการประกอบอาชีพของราษฎร หรือการกำหนด หัวเมืองที่เป็นเส้นทางเดินทัพผ่าน ต้องจัดเสบียงส่งให้กองทัพด้วย
                ในการเข้าร่วมพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เจ้าเมือง กรมการเมือง จะต้องไปเข้าร่วมพิธีนี้ ในกรณีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ หรือจัดขึ้นในหัวเมืองของตน เพื่อให้ขุนนาง ไพร่ฟ้าประชาชน ได้เข้าร่วมพิธี โดยจัดขึ้นที่วัด ต่อพระรัตนตรัย แล้วรายงานให้ทางกรุงเทพ ฯ ทราบ
                นอกจากนี้ ทางหัวเมืองยังต้องจัดสิ่งของ เงินทอง เพื่อนำส่งไปร่วมในพระราชพิธีที่สำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก หรือพิธีอื่น ๆ แล้วแต่ส่วนกลางจะมีใบบอก แจ้งไปเป็นครั้งคราว
           เมืองกาฬสินธุ์ก่อนปี พ.ศ.๒๓๗๐  ในเวลานั้นเมืองกาฬสินธุ์ มีประชากรอาศัยอยู่ไม่มากนัก ไม่ปรากฎว่ามีทาส ประชากรไม่เกิน ๖,๐๐๐ คน
            ในปี พ.ศ.๒๓๖๗  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ข้าหลวงแยกย้ายกันขึ้นไปตรวจตราสำมะโนครัว และตั้งกองสักเลก อยู่ตามหัวเมืองอีสานหลายเมือง รวมทั้งกาฬสินธุ์ด้วย เพื่อกำหนดการเกณฑ์ส่วย
           สงครามเจ้าอนุวงศ์  ในปี พ.ศ.๒๓๖๙  อาณาบริเวณแขวงจำปาศักดิ์ ไปจนถึงเวียงจันทน์ตกอยู่ในอำนาจของเจ้าอนุวงศ์ และเจ้าราชบุตร (โย่)  เจ้าเมืองจำปาศักดิ์ แล้วมีใจกำเริบคิดการกระด้างกระเดื่องต่อกรุงเทพ ฯ อันเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่โปรดเกล้า ฯ พระราชทานชาวเมืองเวียงจันทน์ ที่ถูกกวาดต้อนมาแต่ครั้งกรุงธนบุรีกลับคืนไปตามที่เจ้าอนุวงศ์กราบบังคมทูลขอ ประกอบกับในห้วงเวลานั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นสองประการคือ
            ประการแรก ญวนคิดจะขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนลาวริมแม่น้ำโขง ได้มาเกลี้ยกล่อมเจ้าอนุวงศ์ให้ไปพึ่งญวน
            ประการที่สอง ไทยเกิดมีปัญหากับอังกฤษ ข่าวนี้ทำให้เจ้าอนุวงศ์คาดว่าไทยจะมีศึกกับอังกฤษ จึงคิดยกกำลังเข้าไปตีกรุงเทพ ฯ เพื่อกวาดต้อนผู้คน และทรัพย์สมบัติกลับไปเวียงจันทน์ โดยจัดวางกำลังปิดช่องทางรักษาด่าน และทางผ่านไปยังเวียงจันทน์ไว้ให้มั่นคง ป้องกันกองทัพจากกรุงเทพ ฯ ติดตามมา และไปเกลี้ยกล่อมหัวเมืองรายทางของไทยไว้เป็นพรรคพวก
            ในปี พ.ศ.๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์ให้เจ้าอุปราช (ติสสะ) กับเจ้าราชวงศ์ (เจ้าเหง้า) คุมกองทัพเข้าตีหัวเมืองรายทางอันได้แก่ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองชนบท เมืองขอนแก่น ซึ่งขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ  พระยาไชยสุนทร (หมาแพง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ถูกจับตัวประหาร แล้วถูกริบทรัพย์สินครอบครัวบ่าวไพร่ไปเวียงจันทน์  เมื่อทางกรุงเทพ ฯ ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ได้แล้วจึงอพยพครอบครัว และไพร่พลที่ถูกกวาดต้อนไปเวียงจันทน์ให้กลับมาอยู่เมืองกาฬสินธุ์ตามเดิม  ครั้งนั้นเมืองกาฬสินธุ์ร้างอยู่ประมาณสองปีเศษ  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๗๑ ท้าววรบุตร (เจียม) บ้านขามเบี้ย หลานพระยาไชยสุนทร (หมาแพง) ได้รับ
โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
            ในปี พ.ศ.๒๓๘๐ พระยาไชยสุนทร (เจียม) ถึงแก่กรรม เมืองกาฬสินธุ์ว่างเจ้าเมืองอยู่ปีเศษ ต่อมาอุปฮาด (หล้า) ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๓
            ในปี พ.ศ.๒๓๘๗ พระยาไชยสุนทร (หล้า) ถึงแก่กรรม เมืองกาฬสินธุ์ว่างเจ้าเมืองอยู่หนึ่งปี  อุปฮาด (พันทอง) บุตรพระยาไชยสุนทร (เจียม) ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๙
            ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ พระยาไชยสุนทร (ทอง) ถึงแก่กรรม  อุปฮาด (จารย์ละ) เป็นว่าที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เนื่องจากยังไม่ได้ไปเฝ้า ฯ เพื่อรับพระราชทานสัญญาบัตรที่กรุงเทพ ฯ และได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๖  อุปฮาด (กิ่ง) ได้เป็นว่าที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘
            การแยกตั้งเมืองกมลาไสย เมืองสหัสขันธ์  ในปี พ.ศ.๒๔๐๙ พระยาไชยสุนทร (กิ่ง) กับราชวงศ์ (เกษ) เกิดวิวาทกัน  ราชวงศ์ (เกษ) ขอแยกจากเมืองกาฬสินธุ์ ไปตั้งอยู่ที่บ้านสระบัว ตำบลดงมะขามเฒ่า และที่บ้านพันลำ ตำบลภูคันโท ขอยกขึ้นเป็นเจ้าเมืองต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๑๐ ได้มีการโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งบ้านสระบัว ตำบลดงมะขามเฒ่า เป็นเมืองกมลาไสย ให้ราชวงศ์ (เกษ) เป็นพระราษฎรบริหาร เจ้าเมือง และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ท้าวแสน ซึ่งไปตั้งที่บ้านพันลำ และได้รับการยกฐานะเป็นเมืองสหัสขันธ์ เป็นที่พระประชาชนบาล เจ้าเมืองสหัสขันธ์  ทั้งสองเมืองนี้ให้ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์
            ในปี พ.ศ.๒๔๑๑ อุปฮาด (หนู) เป็นว่าที่เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
            ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเมืองกมลาไสย ออกจากเมืองกาฬสินธุ์ไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ
            ในปี พ.ศ.๒๔๑๗ พระยาไชยสุนทร (หนู) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ มีใบบอกขอตั้งบ้านกันทราราฐเป็นเมือง  ขอท้าวคำมูล คนเมืองมหาสารคามซึ่งอพยพพาท้าวเพีย ตัวเลกที่สมัครรวม ๒,๗๐๐ คนเศษ ซึ่งมาตั้งอยู่นั้นเป็นเจ้าเมือง และได้รับโปรดเกล้า ฯ ตั้งบ้านกันทราราฐเป็นเมืองกันทรวิชัย ให้เพียคำมูลเป็นพระปทุมวิเศษ เจ้าเมือง
            ในปี พ.ศ.๒๔๑๙ พระราษฎรบริหาร (เกษ) เจ้าเมืองกมลาไสยถึงแก่กรรม พระยาไชยสุนทร (หนู) มีเหตุวิวาทกับพระพิชัยอุดมเดช เจ้าเมืองภูแล่นช้าง และพระธิเบศร์วงษา (ดวง) เจ้าเมืองกุฉิมนารายณ์  เจ้าเมืองทั้งสองได้ลงไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอแยกเมืองกุดฉิมนารายณ์ออกจากเมืองกาฬสินธุ์ ไปขึ้นกับเมืองมุกดาหาร และขอแยกเมืองภูแล่นช้างออกจากเมืองกาฬสินธุ์ ไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ
            ในปี พ.ศ.๒๔๒๔ พระยาไชยสุนทร (หนู) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ซึ่งลงไปกรุงเทพ ฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๑๙ ครั้งเป็นความวิวาทบาดหมางกับเมืองบริวาร และแพ้ความป่วยอยู่ที่กรุงเทพ ฯ  เมืองกาฬสินธุ์จึงว่างเจ้าเมืองมา ๕ ปี  ราชวงศ์เชียงโคต (นน) จึงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาไชยสุนทร (นน) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
            ในปี พ.ศ.๒๔๒๕ พระยาไชยสุนทร (นน) ถึงแก่กรรม  กรมการเมืองจึงมีใบบอกขอให้ท้าวพั้ง บุตรพระยาไชยสุนทร (นน) ให้เป็นว่าที่เจ้าเมือง
            ในปี พ.ศ.๒๔๓๕ ข้าหลวงใหญ่ทรงตั้งให้นายสุดจินดาเป็นข้าหลวงเมืองกาฬสินธุ์ เมืองกมลาไสย เมืองภูแล่นช้าง โดยตั้งกองข้าหลวงประจำอยู่ที่เมืองกาฬสินธุ์ ทำให้อำนาจเจ้าเมืองลดลง
           สงครามกับฝรั่งเศส พ.ศ.๒๔๓๖ (รศ.๑๑๒)  ในปี พ.ศ.๒๔๓๖ กองทัพฝรั่งเศส ซึ่งตั้งอยู่ในอินโดจีนของฝรั่งเศส ได้ยกกองทัพล่วงเข้ายึดเมืองเชียงแตง ชายฝั่งแม่น้ำโขงในเขตของไทย ข้าหลวงใหญ่ของไทยคือกรมหลวงพิชิตปรีชาการประทับอยู่ ณ เมืองอุบล ได้ให้เมืองใหญ่ทุกเมืองในลาวกาว เรียกคนพร้อมด้วยศาสตราวุธมาเตรียมไว้เมืองละ ๑,๐๐๐ คน การสงครามครั้งนั้นดำเนินไปตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ไทยต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และค่าปรับอีก ๒ ล้านฟรังค์ แก่ฝรั่งเศส
            เมื่อเหตุการณ์สงบลง ข้าหลวงใหญ่ของไทยได้ทรงตั้งให้หลวงสิทธิเดชสมุทขันธ์ (ล้อม) เป็นข้าหลวงบังคับเมืองกมลาไสยเมืองกาฬสินธุ์ และเมืองภูแล่นช้าง ตั้งอยู่ ณ เมืองกาฬสินธุ์
            การปฏิรูปการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล  สาเหตุการปฏิรูปการปกครองหัวเมือง ก็เนื่องจากเกิดปัญหาเกี่ยวกับไพร่พลในหัวเมืองต่าง ๆ คือเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีตราพระราชสีห์ประกาศออกไปตามหัวเมืองต่าง ๆ เรื่องการสักเลก และการเกณฑ์ไพร่ ให้ไพร่เลือกสังกัดได้ตามใจสมัคร ทำให้เกิดการแย่งชิงไพร่กัน เลกไพร่มีการขอย้ายสังกัด ย้ายถิ่นฐานจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง ครั้นมีราชการ หรือให้เรียกเก็บส่วยจากเลกไพร่ เลกไพร่เหล่านั้นก็หลบหนีจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง ทำให้เกิดปัญหา นอกจากนี้ยังมีการเฆี่ยนตีบังคับข่มเหง เรียกเก็บเงินส่วยจากไพร่ หรือไม่ก็มีการขู่เข็ญบังคับไพร่เพื่อแย่งชิงเลกไพร่กันระหว่างหัวเมือง
                กระบวนการปฏิรูปการปกครอง  ในปี พ.ศ.๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขุนนางเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ออกไปกำกับราชการ โดยจัดแบ่งหัวเมืองภาคอีสานออกเป็นสี่กอง ต่อมาได้ยุบลงเหลือสามกองในปี พ.ศ.๒๔๓๕ คือ หัวเมืองลาวกาว หัวเมืองลาวพวน และหัวเมืองลาวพุงขาว
                ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๗ ได้เปลี่ยนชื่อเรียกหัวเมืองเสียใหม่ โดยให้รวมหัวเมืองเข้าด้วยกันเป็นบริเวณเรียกว่ามณฑล
                ในปี พ.ศ.๒๔๔๐ มีการประกาศพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ.๑๑๖ ให้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง อุปราด ราชวงศ์ ราชบุตร ให้เรียกตำแหน่งเจ้าเมืองว่า ผู้ว่าราชการเมือง ตำแหน่งอุปราดเรียกปลัดเมือง ตำแหน่งราชวงศ์เรียกว่า ยกบัตรเมือง และตำแหน่งราชบุตรเรียกว่า ผู้ช่วยราชการเมือง สำหรับเมืองกาฬสินธิ์ ได้แต่งตั้งให้ท้าวรถ เป็นที่พระสินธุประชาธรรมเป็นผู้ว่าราชการเมือง และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาไชยสุนทร ในเวลาต่อมา
                ในปี พ.ศ.๒๔๔๓ มณฑลลาวกาว เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ และในปี พ.ศ.๒๔๔๓ เปลี่ยนเป็นมณฑลอีสาน และแบ่งเขตการปกครองเป็นบริเวณเมืองกาฬสินธิ์ อยู่กับบริเวณเมืองร้อยเอ็ด
                ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ ได้ยกเลิกการปกครองแบบบริเวณมาเป็นการปกครองแบบจังหวัด ยุบข้าหลวงตรวจการบริเวณแล้ว
                หัวเมืองบริวารของจังหวัดกาฬสินธิ์  หลังเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ทำให้เมืองต่าง ๆ ในพื้นที่บริเวณเมืองกาฬสินธิ์มีการเปลี่ยนแปลง คือ
                    เมืองท่าขอนยาว ถูกยุบเป็นตำบลในจังหวัดมหาสารคาม
                    เมืองภูแล่นชาว ถูกยุบเป็นตำบลในอำเภอกุฉินารายณ์
                    เมืองกันทรวิชัย เป็นอำเภอกันทรวิชัย แล้วได้โอนไปขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓ แล้วโอนไปขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖
                    เมืองกุฉินารายณ์ ได้ยุบเป็นอำเภอกุฉินารายณ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖
                    เมืองแขงบาดาล ถูกยุบเป็นอำเภอ
                    จังหวัดกาฬสินธิ์ ถูกยุบเป็นอำเภอไปขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๗๔ และได้ยกขึ้นเป็นจังหวัดกาฬสินธิ์ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๙๐
เหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง
           กบฎผีบุญ  เกิดขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๔๔๔ ถึงกลางปี พ.ศ.๒๔๔๕ เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในมณฑลอีสาน และมณฑลใกล้เคียงและลุกลามไปอย่างรวดเร็ว
            เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เมืองกาฬสินธิ์ เนื่องจากมีหมอลลำเที่ยวร้องคำผญา ขับเป็นลำนำไปทั่วทุกบริเวณ บ่งถึงความเป็นมาของผู้มีบุญว่าจะมาจากทิศตะวันออก พวกนายเก่าจะหมดอำเภอ ศาสนาจะหมดสิ้น และมีการต่อเติมว่า บัดนี้ฝรั่งเข้ามาเต็มกรุงเทพ ฯ แล้วกรุงเทพ ฯ จะเสียแก่ฝรั่ง หมอลำพวกนี้มาจากทางตะวันออกของฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เที่ยวลำคำผญาไปทั่วมณฑลอีสานว่า ผู้มีบุญจะมาเกิด ต่อมามีผู้ตั้งตนเป็นผู้วิเศษคือ ยายหย่า ยายหยอง มีผู้มาสมัครเป็นพรรคพวกมาก ในที่สุดทางราชการได้ส่งกำลังมาปราบ จับกุมตัวการสำคัญไปพิจารณาโทษตัดสินประหารชีวิตสามคน
            พฤติกรรมของยายหย่า ทำตนเป็นผู้ถือศีล บำเพ็ญภาวนา เป็นนิจ เพื่อให้คนทั่วไปเลื่อมใสศรัทธา และเล่าลือกันไปว่าทั้งสองเป็นผู้มีบุญไปเกิด เพราะมีกามาบอกข่าว ยิ่งนานวันก็มีผุ้คนเชื่อถือมากขึ้น มีการปลูกกระต๊อบเล็ก ๆ อาศัยอยู่รอบ ๆ บ้านของยายทั้งสอง เพื่อมารอเข้าพิธี มีการดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์ และประกาศตัวเป็นสานุศิษย์ โดยทั้งสองยายจะกล่าวอ้างพระศรีอาริยเมตไตรย์ ว่ากลับชาติมาเกิดเป็นตนในชาตินี้
            กลุ่มเจ้าผู้มีบุญเมืองกาฬสินธิ์จัดกลุ่มกันอยู่หลวม ๆ โดยฝากความหวังไว้กับพระศรีอาริย์ ท้าวธรรมิกราช อันหมายถึงกษัตริย์ในอุดมคติ ผู้จุติมา เพื่อช่วยเหลือ และปกครองผู้คนให้พ้นจากความทุกข์และความเดือดร้อนทั้งปวง คณะเจ้าผู้มีบุญประกอบด้วยบุคคลชั้นหัวหน้าห้าคน หัวหน้าได้แก่ ยายหย่า ยายหยอง สองคนพี่น้อง ท้าวหมาหยุย พระเกษแก้วจุลลา และพ่อเฒ่าเพชร นอกจากนั้นก็มีการกำหนดตำแหน่งอื่น ๆ อีกหลายตำแหน่ง โดยแบ่งหน้าที่กันออกไป
            สาเหตุของกบฎผีบุญ ที่เกิดในแถบหัวเมืองในมณฑลอีสาน จะเห็นว่าการที่มีคนกลุ่มหนึ่งก่อการขึ้น ก็เพราะต้องการให้ราษฎร์หลุดพ้นจากการกดขี่ข่มเหง อันมีสาเหตุทางด้านปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างชนชั้น ชาวเมืองเห็นว่าชนชั้นผู้ปกครองเอารัดเอาเปรียบ และไม่ได้เป็นคนพื้นเมืองอย่างพวกเขา มองพวกเขาว่าเป็นชนชั้นต่ำ
            ทางราชการได้ใช้นโยบายการนำแบบการปกครองแบบเก่าคือ แบบพ่อปกครองลูก มาใช้ควบคู่กับแบบใหม่ ได้แก่ การออกประกาศตักเตือนราษฏร์ ให้ปฎิบัติตามแบบอย่างทางราชการ เช่นให้ราษฎร์เสียเงินค่าราชการประจำปี ให้เข้ารับราชการทหาร ให้เลิกเล่นการพนัน เลิกการสักตามร่างกาย เลิกการสูบฝิ่น เลิกทรงเจ้าเข้าผี

โบราณสถานและโบราณวัตถุ
            สมัยก่อนประวัติศาสตร์  พบโบราณวัตถุที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ คือ ขวานหินขัด เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยสำริด ภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว และเครื่องประดับชนิดต่าง ๆ ซึ่งพบบริเวณห้วยม่วง แหล่งโนนบ้านฮ้าง แหล่งโนนปลาฝา และแหล่งโนนมะขาม อำเภอกุฉินารายณ์
            สมัยทวารวดี  พบโบราณวัตถุจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วไปเกือบทุกอำเภอ แบ่งประเภทได้ดังนี้
                ประเภทเครื่องมือเครื่องใช้  พบสิ่งที่ทำด้วยโลหะคือ สำริด และเหล็ก เช่น ลูกกระพรวน มีด เครื่องประดับลูกแก้ว เครื่องถ้วยชาม หม้อ ไห คนโท พบมากที่เมืองฟ้าแดดสงยาง นอกจากนั้นยังพบที่บ้านสามโคก ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย ที่บ้านคอนเรียบ บ้านช้างอียอ อำเภอเมือง ฯ ที่บ้านหนองบัวนอก ตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน และที่บ้านห้วยม่วง อำเภอกุฉินารายณ์
                ประเภทศิลาจารึก  พบที่บ้านมะค่า อำเภอท่าคันโท ที่บ้านโนนศิลา วัดภูค่าว อำเภอสหัสขันธ์ ที่บ้านห้วยม่วง อำเภอกุฉินารายณ์ ที่บ้านส้มป่อย อำเภอเขาวง และที่บ้านสว่าง กิ่งอำเภอฆ้องชัย จารึกด้วยอัษรปัลลวะ เป็นภาษามอญโบราณ มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖
                ประเภทใบเสมา  พบกระจายอยู่ในพื้นที่หลายอำเภอคือ อำเภอกมลาไสย บริเวณเมืองฟ้าแดดสองยาง นอกจากนั้นยังพบที่อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอนามน อำเภอยาวตลาด อำเภอท่าคันโท และกิ่งอำเภอฆ้องชัย ใบเสมามีทั้งลักษณะที่สลักเป็นรูปสถูป หรือมีสันตรงกลางแผ่น และสลักเป็นภาพ เล่าเรื่องเกี่ยวกับชาดก และพุทธประวัติที่งดงามมาก
                ประเภทพระพิมพ์ดินเผา  พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีทุกแห่ง ที่เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังพบในเขตอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอนาบน และอำเภอเมือง ฯ
                ประเภทพระพุทธรูปสลักบนหน้าผา  พบที่หน้าผาภูปอ ตำบลภูปอ อำเภอเมือง ฯ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์  สลักบนหน้าผาสององค์ องค์แรกประดิษฐานอยู่ที่เชิงเขา เป็นปางปรินิพพาน โดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ปลายพระบาทมีผ้ารอง (สังฆาฎิสี่ชั้น)   ตามที่ปรากฎหลักฐานในมหาปรินิพพานสูตร ส่วนองค์ที่สองประดิษฐานอยู่บนภูปอ เบื้องล่างองค์พระสลักเป็นรูปพระแท่นบรรทม มีเสารองรับ
                นอกจากนั้นที่วัดภูค่าว บ้านสีนวล อำเภอสหัสขันธ์ ยังพบพระพุทธรูปปางไสยาสน์สลักบนเพิงผา มีลักษณะแปลกกว่าพระพุทธไสยาสน์องค์อื่นคือ บรรทมตะแคงซ้าย พระเศียรไม่มีพระเกตุมาลา เชื่อกันว่าเป็นพระสาวกคือพระโมคคัลลานะ
                ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๖ พระเจ้าศรีโคตรบุตรต่อยอดพระธาตุพนมสำเร็จ จะประกอบพิธีสมโภชฉลอง จึงแจ้งข่าวแก่หัวเมืองต่าง ๆ ให้มาร่วมฉลอง ได้มีชาวเมืองต่าง ๆ มาร่วมสมโภชเป็นจำนวนมาก แม้ในเมืองที่อยู่ไกลมีผู้คนจากดินแดนเขมรได้เดินทางมาร่วมสมโภช แต่พอมาถึงบ่อคำม่วงก็ได้ทราบข่าวว่าการสมโภชได้เสร็จสิ้นไปแล้ว จึงได้ตกลงกันให้ฝังสมบัติที่นำมาไว้ที่ภูค่าง และสลักรูปของพระพุทธไสยาสน์ไว้ ณ เพิงผาแห่งนั้น พร้อมตั้งปริศนาไว้มีความหมายว่า เบื้องหน้าพระพุทธไสยาสน์นี้ ได้ฝังสมบัติไว้ ถ้าผู้ใดพบให้นำสมบัตินั้นไปทำบุญทำทานด้วย
            สมัยลพบุรี เป็นโบราณวัตถุอิทธิพลเขมร แยกประเภทได้ดังนี้
                ภาชนะดินเผาเคลือบ ศิลปะลพบุรี ขุดได้กลางลำน้ำปาว
                ภาชนะประเภทถ้วยชาม พบที่บ้านหนองแปน กิ่งอำเภอฆ้องชัย
                โกลนพระพุทธรูปสองชิ้น พบที่วัดภูค่างพุทธนิมิต บ้านโสกทราย อำเภอสหัสขันธ์
                พระพุทธรูปปางนาคปรก พบที่บ้านเชียงสา ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด
                ภาชนะดินเผา ที่บ้านร้าง บ้านยางเทียม ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก
                พระพุทธรูปปางนาคปรก บ้านนาสีนวล ตำบลบึงนาเรือง อำเภอห้วยเม็ก
                ภาชนะดินเผาและเครื่องประดับอาคารสถานที่ บ้านโนนสะอาด อำเภอสมเด็จ
                พระพุทธรูปศิลปะลพบุรี ที่วัดกลางกุดสิมคุ้มเก่า อำเภอเขาวง
                พระพุทธรูปหินศิลปะลพบุรี ที่วัดป่าสักวัน บ้านโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์
                ฐานศิวลึงค์ พบที่พระเจ้าคอกุด บ้านส้มป่อย ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง
                ภาชนะดินเผา พบที่บ้านหนองแสง อำเภอเขาวง และวัดสิมนาโก อำเภอกุฉินารายณ์

สมัยวัฒนธรรมไทยลาว  ตรงกับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้รับอิทธิพลทางศิลปะแบบล้านช้าง ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของกาฬสินธุ์ เช่น
                พระพุทธรูปสำริดนิรโรคันตราย (พระองค์คำ) ประดิษฐานอยู่ที่วัดกลาง อำเภอเมือง ฯ
                พระพุทธรูปสำริดบ้านภูแล่นช้าง ประดิษฐานอยู่ที่วัดภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู
                พระเจ้าใหญ่ บ้านกลางหมื่น อำเภอเมือง ฯ
                พระเจ้าใหญ่ วัดปฐมเกษาราม อำเภอกมลาไสย
                พระแก้วมรกต บึงนาเรียง บ้านนาเรียง อำเภอร่องคำ
                พระเจ้าใหญ่บ้านต้อน อำเภอเมือง ฯ
                พระพุทธบุษราคัมมิ่งมงคล วัดสิมนาโก อำเภอกุฉินารายณ์
                พระพุทธนาคมิ่งมงคล กิ่งอำเภอนาค
                พระพุทธหนองอีบุตรมิ่งมงคล อำเภอห้วยผึ้ง
            สำหรับพระพุทธลักษณะของพระพุทธรูปอิทธิพลศิลปะล้านช้างนี้จะมีความแตกต่างกับพระพุทธรูปสมัยอื่นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพระกรรณมีความคล้ายคลึงไปทางสกุลช่างทวาราวดี และสกุลช่างอู่ทอง ส่วนพระรัศมีและการประดับตกแต่งมากเป็นพิเศษ มักประดับเพชรพลอยสีต่าง ๆ  ส่วนใหญ่จะเป็นปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ นิ้วพระหัตถ์มีทั้งแบบธรรขันต์และแบนิ้วทั้งสี่ทางเท่ากัน นอกจากนั้นยังมีปางห้ามญาติตามแบบอย่างพระบาง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของลาว
ศิลปหัตถกรรมและงานช่าง
จิตรกรรม  มีภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำเซ่งเม่ง อยู่ใกล้บ้านม่วง อำเภอกุฉินารายณ์  ลักษณะของแหล่งที่พบ เป็นก้อนหินทรายขนาดใหญ่ กว้างประมาณ ๑๓ เมตร สูงประมาณ ๒ เมตร  มีภาพเขียนด้วยสีแดงคล้ายน้ำหมาก เป็นภาพฝ่ามือจำนวน ๑๓ ภาพ ใช้วิธีเขียนสองแบบคือวิธีทาบและวิธีทาบก่อนแล้วเขียนลายก้นขดลงบนฝ่ามือ
            นอกนั้นยังพบที่ถ้ำลายมือภูผาผึ้ง บ้านหนองห้อง อำเภอกุฉินารายณ์ พบที่เพิงผาหินทราย เป็นภาพฝ่ามือคนจำนวน ๑๗๑ ภาพ มีทั้งมือเด็กและมือผู้ใหญ่ ใช้วิธีทาบ ๑๖๕ ภาพ และใช้วิธีทาบก่อนแล้วเขียนลายก้นขดลงบนอุ้งมือ จำนวน ๖ ภาพ
            ต่อมาในยุควัฒนธรรมไทย - ลาว พบว่ามีภาพฝาผนังเรื่องทศชาติชาดกที่มีฝีมือการเขียนเป็นเลิศ เชื่อว่าเป็นฝีมือช่างหลวงพบที่บ้านหนองสง ตำบลลำปาว อำเภอเมือง ฯ  และภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดบ้านนาจาน ตำบลไผ่ อำเภอเมือง ฯ เป็นเรื่องราวในพระพุทธศาสนา เป็นฝืมือช่างพื้นบ้านที่งดงามมาก
            สถาปัตยกรรม  สิ่งก่อสร้างที่เป็นผลงานของช่างพื้นบ้านชาวอีสานยังประโยชน์ใช้สอยให้เกิดขึ้นนานัปการ ตั้งแต่เถียงนา ตูบเรือนเหย้า เรือนที่อยู่อาศัย บรรดาศาสนสถาน เช่น โบสถ์ (สิม)  ศาลาการเปรียญ (หอแจก)  หอไตร หอกลอง ฯลฯ ก่อให้เกิดเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอีสานซึ่งมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ความเชื่อ สังคมและเผ่าพันธุ์  ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่พบในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ แบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ
                สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิม  เช่น บ้านอีสาน บ้านผู้ไท ลักษณะองค์ประกอบและเนื้อที่ใช้สอยของเฮือน (เรือน) อีสาน มีดังนี้
เฮือนใหญ่ (เรือนใหญ่)  ส่วนมากมีความยาวช่วงเสา ใต้ถุนโล่ง เรียกว่า เฮือนสามห้อง ชั้นบนมีสามส่วน  ห้องเปิง เป็นเรือนนอนของลูกชาย ฝาเรือนมีหิ้งสำหรับไว้ของที่เคารพบูชา เช่น พระพุทธรรูป หรือรูปบูชาต่าง ๆ  ห้องพ่อ - ห้องแม่ บางทีก็มีฝากั้นบางทีก็โล่ง  ห้องนอนลูกสาว มีฝากั้นและประตู ชั้นล่าง ส่วนหนึ่งจะเป็นคอกวัว คอกควาย อีกส่วนหนึ่งเป็นบริเวณพักผ่อนตอนกลางวันและใช้ทำงานหัตถกรรมพื้นบ้าน ใต้พื้นบ้านมีหิ้งไว้ใส่ของเช่น จอบ เสียม ของใช้ทำไร่นา เกยหรือชานโล่ง  เป็นชายที่มีหลังคาคลุม ชั้นบน พื้นเกยจะต่ำกว่าพื้นเฮือนใหญ่ โดยจะมีพื้นไม้เหยีบขึ้นไปเข้าเฮือนใหญ่ เกยใช้เป็นที่นอนของสมาชิกในครอบครัว ที่กินอาหาร และที่รับแขก ชั้นล่างไม่ค่อยใช้ประโยชน์มากนักเพราะใต้ถุนเตี้ย อาจใช้เป็นที่เก็บของ
เฮือนโขง (เรือนโข่ง)  ประโยชน์ใช้สอยเหมือนเกย ผิดกันที่รูปร่างของหลังคา และโครงสร้างซึ่งแยกจากเฮือนใหญ่ สามารถรื้อไปปลูกใหม่ไวด้ ในวกรณีที่สมาชิกในครอบครัวต้องการเฮือนเหย้า การต่อเชื่อมหลังคาใช้ ฮังริน (รางน้ำ) ไม้สองแผ่นยาด้วยขี้ชี ในกรณีที่ไม่มีชานแดดและเฮือนไฟ (เรือนครัว) ก็จะใช้พื้นที่นี่ทำครัวได้
                    เฮือนแฝด (เรือนแฝด)  รูปร่างและประโยชน์ใช้สอยเหมือนเฮือนโร่ง แต่ลักษณะโครงสร้างไม่เหมือนกันคือ โครงสร้างของเฮือนแฝด ทั้งขื่อและคานฝากกับเฮือนใหญ่ ระดับพื้นสูงงเท่ากัน
                    ชานแดด (ชานนอก)  ระดับพื้นของชานแดด จะลดระดับลงมาอีก ใช้เป็นที่นั่งพักผ่อนและกินอาหาร ชานแดดจะมีหลายแห่งคือชานนแดดด้านหน้าและด้านหลังเฮือนใหญ่ บางแห่งเรียกชานมน ชั้นล่างของชานแดด ไม่ค่อยใช้ประโยชน์มากนัก เพราะใต้ถุนเตี้ย
  เฮือนไฟ (เรือนครัว)  ชั้นบนส่วนมากเป็นเฮือนสองห้อง ใช้เป็นครัวประกอบอาหาร ซึ่งจะมีกระบะดินรองพื้นสำหรับก่อไฟ ไม่มีเตา แต่จะมีก้อนดินสามก้อน (ก้อนเส้า) รองรับภาชนะหุงต้ม ภายในห้องเป็นที่เก็บภาชนะอาหารแห้ง ชั้นล่างใช้เก็บฟืน และไม้ที่สะสมไว้ สร้างเรือน
                    ฮ้างแอ่งน้ำ (ร้านแอ่งน้ำ)  เป็นเพลิงหมาแหงน มีฐานสำหรับวางแอ่งวน้ำดินเผาพร้อมฐานรอง ความสูงพอเหมาะกับการยืนตักด้วยกระบวยกะลามะพร้าวได้
                    เล้าข้าว (ยุ้งข้าว)  ลักษณะยกใต้ถุนสูงพอดีกับการเทียบเกวียนข้าวเปลือกเข้ายุ้งข้าวได้ สามารถเก็บข้าวเปลือกได้นานเป็นปีจนถึงหน้าทำนาใหม่ ใต้ถุนเล้าข้าวส่วนมากจะเป้นเล้าเป็ด เล้าไก่ เพื่อให้เป็ดไก่เก็บข้าวหลุมจากเล้าข้าวมาเป็นอาหาร
                สถาปัตยกรรมเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ  มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญมีคุณค่าทางศิลปะและปวระวัติศาสตร์คือ
                    พระธาตุยาคู  เป็นเจดีย์ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในบรรดาเจดีย์ที่ง ๑๔ แห่ง ที่พบในเมืองฟ้าแดดสงยาง องค์พระธาตุกว้าง ๑๖ เมตร เป็นศิลปะแบบทวารวดี ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ไม่สอปูน มีเจดีย์แบบอยุธยาซ้อนทับ และมีการสร้างเพิ่มเติมในสมัยรัตนโกสินทร์ สภาพปัจจุบันสูง ๑๕ เมตร
                    อูบบุง วัดบึงนยาเรียง บ้านนาเรียง อำเภอร่อนคำ ลักษณะเป็นสถูป (อูบมุง) ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ปลายสอบเข้าหากัน เป็นรูปโครง ก่อด้วยอิฐสอปูนปิดทึบ เจาะเป็นช่องหน้าต่างสี่ด้าน
  สิม โบสถ์วัดบึงมาเรียง เป็นสิมโบราณ ลักษณะเป็นสิมทึบ ก่ออิฐสอปูนทั้งสี่ด้าน ตัวสิมยกฐานสูง ทรงสอบเข้าหากัน มีหลังคาปีกนกครอบอาคาร ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง
ภาษาและวรรณกรรม
            ภาษา  จังหวัดกาฬสินธุ์มีภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นอยู่สามภาษาคือ
                ภาษาไทยอีสานหรือภาษาไทยลาว เป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ เป็นภาษาพูด ส่วนภาษาเขียนเรียกว่า ภาษาไทยน้อย จารลงไว้ในหนังสือผูก ใช้อักษรสองแบบคืออักษรไทยน้อยและอักษรตัวธรรม
                ปัจจุบันภาษาไทยอีสานจะใช้เป็นภาษาพูดในท้องถิ่น ส่วนภาษาเขียนจะใช้ภาษาไทยกลางเป็นหลัก
                ภาษาไทยหรือภูไท  มีลักษณะทางภาษาศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับภาษาไทยอีสานเป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดกัน ไม่มีภาษาเขียน ใช้พูดกันประมาณร้อยละ ๒๐
                ภาษาญ้อ  ใช้พูดกันในบางหมู่บ้านมีไม่มากนัก ประมาณร้อยละ ๑๐
            วรรณกรรม  เรื่องที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง
                ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง  เมืองฟ้าแดด ฯ เป็นเมืองโบราณ สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ ตั้งอยู่บริเวณบ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย มีพื้นที่ประมาณ ๓๐๐ - ๕๐๐ ไร่ แผนผังเป็นรูปไข่ ล้อมรอบด้วยคูเมืองสองชั้น กว้างประมาณ ๑๘ เมตร วัดโดยรอบยาวประมาณ ๕ กิโลเมตร มีโบราณสถานหลายแห่ง มีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาดังนี้
                เมื่อประมาณสองพันวปีมาแล้ว ชนเผ่าไทยได้อพยพมาจากเมืองหนองแส น่านเจ้า ลงมาทางใต้ ได้สร้างเมืองขึ้นสองเมืองคือ เมืองเชียงโสม และเมืองฟ้าแดด ทั้งวสองเมืองติดต่อกันโดยทางเรือเท่านั้น
                เมืองฟ้าแดดมีพระยาฟ้าแดดครองเมือง ส่วนเมืองลูกหลวงคือเมืองสงยาง มีต้นยางสูงสวยงามมากรวมเรียกว่าเมืองฟ้าแดดสงยาง พญาฟ้าแดดมีชายาชื่อจันทาเทวี มีธิดาชื่อนางฟ้าหยาด พระบิดาได้สร้างปราสาทเดี่ยวกลางน้ำเป็นที่อยู่ของบธิดา ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่กลางทะเลหลวง (ปัจจุบันเรียก โนนสาวเอ้)
                พญาฟ้าแดด เป็นเผ่าแมนฟ้า ได้ขุดสระไว้รอบตัวเมือง สระที่ขุดพบสันนิษฐานว่ามีสระแก้ว สระขวัญ สระเงิน สระทอง สระพลิ้ว (สระน้ำฝน) สระเกศ สระบัวแดง (อุบลรัตน์) สระบัวเขียว สระบังขาว (ปทุม) สระบัวขาบ (โกมุท) สระชุบศร และสระอื่น ๆ อีกหลายสระ ซึ่งสมัยก่อนเรียกตระพังทองตระพังเงิน บริเววณเมืองเก่าสมัยนั้นกว้างใหญ่มาก มีซากอิฐหินทั่วไป ส่วนเมืองเชียงโสมนั้นมีเพียงกุด บึง หนอง เท่านั้น มีดาบคู่เป็นสัญญลักษณ์ (ปัจจุบันน้ำในเขื่อลำปาวท่วมหมดแล้ว) ชาวบ้านเรียกกุดเชียงโสม
                พระยาจันทะราชได้ยกกองทัพมาเมืองฟ้าแดด ฯ เพื่อชิงนางฟ้าหยาด โดยได้ขอกำลัง และความร่วมมือไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นญาติพี่น้องกันคือ พญาเชียงส่ง พญาเชียงสา พญาเชียงเดือ พญาเชียงช้อย (ครองเมืองสาหุตร์กุดกอก) และพญาเชียงยืน (ครองเมืองปัตตานครหรือเมืองสายบาตร์)
                ส่วนที่เป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใดมีพระยาเชียงเหียน และเมืองอื่น ๆ มีเมืองศรีแก้ว ฝักแว่น เมืองหงส์ เมืองหนองหาน
                การรบครั้งนี้กล่าวว่ามีกำลังพลเป็นแสน เลือดไหลนองท่วมแผ่นดิน ในที่สุดฝ่ายพระยาจันทะราชแพ้ ตัวพระยาจันทะราชตายในที่รบ จากการชนช้างกับพญาฟ้าแดด
                ฝ่ายนางฟ้าหยาดเมื่อรู้ข่าวว่าคนรักคือพญาจันทะราชตาย ก็เสียใจและเป็นลมตายตามคนรักไป เมื่อพญาฟ้าแดดทราบเรื่อง จึงให้นำศพนางกับพญาจันทะราชบรรจุลงในหีบใบเดียวกัน เมื่อเสร็จพิธีเผาแล้วก็ให้ก่อเจดีย์บรรจุอัฐิไว้คู่กัน ก่อนบรรจุอัฐิลงไว้ในเจดีย์ พญาฟ้าแดดได้ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปทองคำ จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ ให้ช่าวเมืองฟ้าแดดหล่อพระพุทธรูปให้ได้ครบทุกหลังคาเรือน จะสร้างด้วยอิฐหรือดินก็ได้ แล้วบรรจุไว้ในพระเจดีย์ทั้งสอง
                ฝ่ายพญาธรรมน้องพญาจันทะราช ผู้ครองเมืองเชียงโสมต่อมามีความแค้นพญาฟ้าแดดอยู่ จึงได้ขอความร่วมมือไปยังประเทศต่าง ๆ คือ ประเทศเม็ง (มอญ) ประเทศดลา (ไทยใหญ่) ประเทศม่าน (พม่า) ประเทศญวน ประเทศลาวและลื้อ ประเทศเขมร ประเทศโกย (อยู่ในพวกม่าน) ปรากฎว่ายังมีกองทัพมาช่วยพญาเชียงโสมเกือบทุกหัวเมือง ทางพญาฟ้าแดดยอมแพ้ ขอส่งส่วยและเครื่องบรรณาการ ยอมเป็นนาวาประเทศแต่โดยดี
ความเชื่อและพิธีกรรม
            ความเชื่อเกี่ยวกับโลกและจักรวาล  ชาวกาฬสินธุ์สืบทอดวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง มีความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติใกล้ชิดกับกลุ่มคนไทยในล้านช้าง มากกว่าวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
                ความเชื่อในการกำเนิดโลก  มีอยู่สองแนวด้วยกันคือ ตามแนวพระพุทธศาสนา (อัคคัญสูตร) และตามแนวความเชื่อดั้งเดิมของสังคม คือ สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้พญาแถน หรือแถนฟ้าหลวง หรือแถนฟ้าชื่น เป็นผู้สร้างเป็นผู้กำเนิด
                ในหนังสือนิทานเรื่องขุนบรม ได้กล่าวว่า มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดจากผลน้ำเต้าปุ้ง สองผล ภายในน้ำเต้าปุ้งสองผลนี้มีมนุษย์ชายหญิงมากมาย สรรพสัตว์ต่าง ๆ ออกมาตามรอยรู ที่แถนสิ่ว (ไช) แถนซี (เจาะ)  ความเชื่อนี้ตลอดไปถึงพวกไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยเขิน ด้วย
                สำหรับมนุษย์คู่แรก คือ ปู่สังกะสา กับย่าสังกะสี  ทำนองเดียวกันกับปู่และย่า ของภาคเหนือ และยายกะลา ตากะเล ในภาคกลาง
                ความเชื่อเรื่องวีรบุรุษและรัฐ   มีอยู่ในนิทานเรื่องขุนบรม เชื่อว่าขุนบรม เป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของแถนฟ้าชื้น แถนฟ้าให้ท่านมาเกิดในโลกมนุษย์ เพื่อเป็นผู้ปกครองประชาชนที่เกิดจากผลน้ำเต้าปุ้งสองผลดังกล่าว ในนิทานได้กล่าวถึงหน้าที่ของชนชั้นปกครอง พร้อมทั้งบริวารที่เป็นมูลนาย เพื่อช่วยเหลือนการปกครอง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากผีแถนฟ้า ผีฟ้า เช่นเดียวกัน ชื่อของบริวารเหล่านั้นพร้อมทั้งบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ ปรากฎอยู่ในฮีตสิบสอง คองสิบสี่ของอีสาน คือ เง่าเมือง หมายถึง อำมาตย์ผู้ซื่อสัตย์ (ขุนธรรมราช)  ตามเมือง หมายถึง นักปราชญ์ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (ขุนแสงมโนศาสตร์)  ขางเมือง (แปเมือง)  เขตเมือง (ขุนอุ่น ขุนคลี) เมฆเมือง หมายถึง เทวดาอารักษ์ หลักเมือง (เฒ่าเยอ แม่ย่างาม เฒ่าไล แม่มด )  ฝาเมือง หมายถึง ทหาร (ขุนคัว ขุนลางเชิง)
ความเชื่อเรื่องภูติผีวิญญาณ  ได้ผสมผสานกับพระพุทธศาสนาอย่างกลมกลืน ภูตผีที่สำคัญคือ ผีแถน ซึ่งมีลักษณะเป็นเทพมากกว่าผี มีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับ พญาแถน คือ
                    พิธีแห่บั้งไฟ  เพื่อให้พญาแถนให้ฝนแก่มนุษย์ เป็นการเตือนพญาแถนว่า มนุษย์ต้องการฝน
                    การลำผีฟ้าเพื่อรักษาโรค  บางแห่งเรียกลำผีแถน โดยมีความเชื่อว่าโรคที่เกิดจากการกระทำของภูติผี หรือโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ ญาติพี่น้องจะหาหมอทำ (ธรรม)  มาทำพิธีตั้งขันห้าขันแปด (เครื่องบูชา)  มีหมอแคนมาเป่า เจ้าพิธีจะลำแบบหมอลำเนื้อความใหม่ ทำนองขับไล่ผี และเชิญพญาแถนมาช่วยปกป้อง คุ้มภัยพิบัติทั้งปวง
                    ผีมเหศักดิ์หลักเมือง  เช่นเดียวกับหลักเมืองของภาคกลาง ตามหมู่บ้านมีทุกหมู่บ้านเรียก หลักบ้าน มักจะตั้งอยู่ในที่เด่นชัด เช่นทางสามแพร่งในหมู่บ้าน บริเวณใกล้หลักบ้าน จะมีศาลากลางบ้านเป็นส่วนใหญ่ สำหรับใช้ในพิธีกรรมตอกหลักบ้าน หลักเมือง เรียกว่า บุญซำฮะ ซึ่งจะกระทำในเดือนเจ็ด
                    พ่อเชื้อแม่เชื้อผีประจำตระกูล  เชื่อว่าเป็นผีประจำเชื้อสายของแต่ละตระกูล ประจำอยู่ในบ้านเรือน ต่างแต่ว่าไม่มีทุกบ้าน จะมีเฉพาะบ้านที่เป็นต้นตระกูล
                    ความเชื่อผีอื่น ๆ  มีผีที่สามารถให้คุณให้โทษแก่มนุษย์ เช่น ผีประจำไร่นา ช่วยให้ธัญพืชงอกงาม ผีตาแฮก ก็เป็นผีที่ทำให้ธัญพืชเจริญงอกงาม และฝนตกต้องตามฤดูกาล
                    ผีอีกประเภทหนึ่งคือ ผีฟ้า นัยว่าเป็นแถน นั่นเอง ต่างแต่ว่าพวกคนทรงนับถือ และนำมาทำพิธีกรรมในกลุ่มของตน เรียกว่า นางเทียม จึงมักเรียกว่า ผีฟ้านางเทียม นางเทียมจะเชิญวิญญาณให้มาเข้าทรง
มรดกทางพระพุทธศาสนา
ศาสนาและศานวัตถุ
  ศาสนสถานในเมืองฟ้าแดดสงยาง  พบร่องรอยของศาสนสถาน จำนวน ๑๔ แห่ง ลักษณะของแผนผังตลอดจนลายปูนปั้นที่ใช้ประดับ มีลักษณะทางศิลปกรรมแบบทวารวดี มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ และพบว่ามีการสร้างต่อเติมศาสนสถานดังกล่าวในสมัยต่อมา ดังปรากฎหลักฐานรูปสี่เหลี่ยมทรงกลม และแปดเหลี่ยม
            สถูปเจดีย์ต่าง ๆ มีจำนวนมากกว่า ๑๐ องค์ มีองค์ใหญ่ที่สำคัญคือ พระธาตุยาคู
พระธาตุยาคู  เป็นเจดีย์ใหญ่ และสมบูรณ์ที่สุด มีขาดกว้าง ๑๖ เมตร เป็นศิลปะแบบทวารววดี ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ไม่สอปูน ฐานอิฐที่เหลือเพียง ๑.๑๕ เมตร มีเจดีย์แบบอยุธยาซ้อนทับ และมีหลักฐานปรากฎว่ามีการสร้างต่อเพิ่มเติมใหม่อีกในสมัยรัตนโกสินทร์
                สภาพปัจจุบันองค์พระธาตุ สูง ๑๕ เมตร รอบองค์พระธาตุมีใบเสมาสลักภาพพระพุทธประวัติปักอยู่ ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุของพระสงฆ์ ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ ตั้งแต่ครั้งอพยพมาตั้งหมู่บ้าน ณ ที่แห่งนี้
                ศาสนสถานอื่น ๆ ได้แก่พระอุโบสถ สิมและอูบมุง
                พระอุโบสถวัดกลาง กาฬสินธุ์  วัดกลางกาฬสินธุ์เป็นพระอารามหลวง มีพระอุโบสถ์ที่มีลักษณะโดดเด่นสวยงาม สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ มีขนาดกว้าง ๘๐ เมตร ยาว ๑๗ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย หลังคาลดสามชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี มีช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ และสาหร่ายรวงผึ่งหน้าบันทั้งสองด้าน ประดับตกแต่งด้วยลายปูนปั้นอย่างวิจิตรงดงาม รวมถึงคันทวยที่เป็นรูปสัตว์ในหิมพานต์คล้ายนกยูงสามหัว บานประตู และหน้าต่างเป็นไม้แกะสลักอยู่ภายในกรอบปูนปั้น ที่ทำเป็นซุ้มเรือนแก้ว พระอุโบสถยกพื้นสูง มีบันไดขึ้นทางด้านหน้าและด้านหลัง มียักษ์ถือกระบองยืนเฝ้าบันไดทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ด้านละสองตน
                กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถเป็นกำแพงย่อมุมไม้สิบสอง ที่มุมมีรูปเทวดาประจำมุมละองค์ทางขึ้นของกำแพงแก้วทั้งสี่ด้านประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้น เป็นรูปสัตว์ในหิมพานต์แบบต่าง ๆ บนกำแพงรอบพระอุโบสถ ได้ประดับปูนปั้นเป็นภาพปริศนาภาษิตโบราณ และนิทานพื้นบ้าน
อูบมุงวัดบึงนาเรียง  อยู่ที่บ้านมาเวียง อำเภอร่องคำ เป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่มีลักษณะเป็นสถูป (อูบมุง) ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ปลายสอบเข้าหากันเป็นรูปโดม ก่อด้วยอิฐสอปูนปิดทึบ เจาะเป็นช่องหน้าต่างสี่ด้าน ภายในเชื่อว่าบรรจุอัฐิธาตุของพระอรหันต์สาวก
สิมวัดกลางโคกค้อ  อยู่ในเขตอำเภอยาวตลาด เป็นสิมขนาดเล็ก มีสัดส่วนสวยงาม เป็นสิมโปร่ง หลังคาทรงโค้งรับกับปีกนก
            ศาสนวัตถุ  ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ ใบเสมา
พระพุทธรูปสลักบนหน้าผา  พบที่หน้าผาภูปอ ตำบลภูปอ อำเภอเมือง  เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ฝีมือช่างสมัยทวารวดี สลักบนหน้าผามีอยู่สององค์ องค์แรก ประดิษฐานอยู่บนเชิงเขาแสดงปางปรินิพพาน โดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ปลายพระบาทมีผ้ารอง (สังฆาฎิสี่ชั้น) ตามคติที่ปรากฎในมหาปรินิพพานสูตร   ส่วนองค์ที่สอง ประดิษฐานอยู่บนภูปอ เบื้องล่างองค์พระสลักเป็นรูปพระแท่นบรรทม มีเสารองรับ

ที่วัดภูค่าว บ้านสีนวล อำเภอสหัสขันธ์ มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ สลักบนเพิงผา มีลักษณะแปลกไปจากพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์อื่น ๆ คือ บรรทมตะแคงด้านซ้าย แทนที่จะตะแคงด้านขวา ในท่าสีหไสยาสน์ นอกจากนั้น พระเศียรไม่มีพระเกตุมาลา เชื่อกันว่าเป็นภาพสลักรูปพระโมคคัลลานะ ผู้เป็นพระสาวก
                ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๖  พระเจ้าศรีโคตรบูรณ์ ต่อยอดพระธาตุพนม สำเร็จจะประกอบพิธีสมโภช จึงแจ้งข่าวแก่หัวเมืองต่างๆ  ให้มาร่วมฉลอง นายสาและพรรคพวกได้เดินทางมาร่วมฉลองด้วย แต่เมื่อมาถึงบ่อคำม่วง ก็ได้ทราบข่าวว่าการสมโภชพระธาตุพนมได้เสร็จสิ้นแล้ว จึงตกลงกันให้ฝังสมบัติที่นำมาไว้ที่ภูค่าว และสลักรูปพระไสยาสน์ไว้ ณ เพิงผาแห่งนี้
                พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ   ได้แก่ พระพุทธรูปตั้งแต่สมัยลพบุรีลงมา มีอยู่ดังนี้
                    พระพุทธรูป  ที่บ้านโนพระเจ้าคอกุด บ้านส้มป่อย ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง อยู่ในสมัยทวารวดี
                    พระพุทธรูปปางนาคปรก  ที่บ้านเชียงสา ตำบลบัวบาน อำเภอยาวตลาด อยู่ในสมัยลพบุรี
                    พระพุทธรูปปางนาคปรก  ที่บ้านนาสีนวล ตำบลบึงนาเรียง อำเภอห้วยเม็ก อยู่ในสมัยลพบุรี
                    พระพุทธรูป  ที่วัดกลางกุดสิมคุ้มเก่า อำเภอเขาวง อยู่ในสมัยลพบุรี
                    พระพุทธรูปหิน   ที่วัดป่าสักวัน บ้านโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ อยู่ในสมัยลพบุรี

พระพุทธรูปสำริด นิโรคันตราย  (พระองค์ดำ)  ประดิษฐานอยู่ที่วัดกลาง อำเภอเมือง ฯ อยู่ในสมัยล้านช้าง
                    พระพุทธรูปสำริด  ประดิษฐานอยู่ที่วัดภูแล่นช้าง  บ้านภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู อำเภอกมลาไสย อยู่ในสมัยล้านช้าง
                    พระแก้วมรกต  บึงนาเรียง บ้านนาเรียง อำเภอร่องคำ อยู่ในสมัยล้านช้าง
                    พระเจ้าใหญ่บ้านต้อน  อำเภอเมือง ฯ  อยู่ในสมัยล้านช้าง
 
พระพุทธบุษราคำมิ่งมงคล วัดสิมนาโก อำเภอกุฉินารายณ์   อยู่ในสมัยล้านช้าง
                    พระพุทธหนองอีบุตรมิ่งมงคล  อำเภอห้วยผึ้ง  อยู่ในสมัยล้านช้าง
...........................พระพรหมภูมิปาโล  ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาภูสิงห์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์
 
- ใบเสมา พบใบเสมากระจายอยู่ในพื้นที่หลายอำเภอ คือ อำเภอกมลาไสย พบมากในบริเวณเมืองน้ำแดดสงยาง อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอนามน อำเภอยาวตลาด อำเภอท่าคันโท และกิ่งอำเภอฆ้องชัย

ใบเสมาดังกล่าว มีลักษณะที่สลักเป็นรูปสถูป หรือมีสันตรงกลางแผ่น และสลักเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับชาดก และพระพุทธประวัติ ที่งดงามมาก เป็นศิลปะสมัยทวารวดี พอประมวลได้ดังนี้
                - กลุ่มใบเสมา  ที่วัดภูค่าวพุทธนิมิตร บ้านโสกทราย อำเภอสหัสขันธ์ เป็นแผ่นเรียบหัก ไม่ปรากฎทิศทาง
                - ใบเสมาหิน จำนวน ๖ หลัก เป็นประเภทแผ่นเรียบ ปักอยู่บริเวณเนินดิน ที่บ้านโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์
                - ใบเสมาหิน ที่บ้านหนองห้าง ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ เป็นภาพเล่าเรื่องวิฑูร ชาดก
                - ใบเสมาบ้านนางาม ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเขาวง เป็นเสมาหินทรายแผ่นเรียบ
                - ใบเสมาหิน ที่บ้านสังคมพัฒนา ตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน
                - ใบเสมาหิน   ที่บ้านหนองห้าง ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ เป็นแท่งหินสี่เหลี่ยม ยอดกลมแหลม
                - ใบเสมา  ที่วัดบ้านทรัพย์ อำเภอท่าคันโท เป็นใยเสมาแผ่นเรียบ ยอดแหลม
                - ใบเสมาที่วัดบ้านนาบง  ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี เป็นรูปสี่เหลี่ยมปลายแหลม
                - ใบเสมา  ที่วัดบ้านดงสว่าง  ตำบลสงเปือย อำเภอนามน
                - ใบเสมา  ที่บ้านสงเปือย ตำบลสงเปือย อำเภอนามน
                - ใบเสมา  ที่ศาลเจ้าปู่เจ้าท่า วัดบ้านท่ากลาง  ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย
                - ใบเสมา  ที่วัดกลางกุดสิมคุ้มเก่า ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง
                - ใบเสมา  ที่วัดบ้านหนองแสง ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง
                - ใบเสมา ที่บ้านดอนแคน ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเขาวง
                - ใบเสมา  ที่บ้านดอนน้อย  บ้านดอนนาแก ตำบลหลุบ อำเภอเมือง ฯ
                - ใบเสมาหิน ที่วัดสว่างอารมณ์ บ้านอุ้มเม่า อำเภอยาวตลาด
                - ใบเสมาหิน  ที่วัดบ้านขมิ้น ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง  ฯ
                - ใบเสมาหิน  ที่วัดดอนย่งบาง บ้านดอนย่านาง อำเภอยาวตลาด
                - ใบเสมาหิน  ที่วัดโนนศิลาเสิง บ้านโนนศิลาเสิง  อำเภอกมลาไสย
                - ใบเสมาหิน  ที่โรงเรียนโนนศิลาสว่างวิทย์ บ้านโนนศิลาเสิง อำเภอกมลาไสย
                - ใบเสมาหิน  ที่วัดโพนมาดี ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง
                - ใบเสมาหิน   ที่วัดเหนือ  บ้านบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์
                - ใบเสมาหิน  ที่วัดกกตาล ตำบลหูลิง  อำเภอกุฉินารายณ์
                - ใบเสมาหิน  ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  อำเภอเมือง ฯ
                - ใบเสมาหิน  ที่พิพิธภัณฑ์วัดกลาง  อำเภอเมือง ฯ
                - ใบเสมาหิน  ที่วัดสว่างคงคา  อำเภอเมือง ฯ
                - ใบเสมาหิน  ที่วัดเหนือ  อำเภอเมือง ฯ
                - ใบเสมาหิน  ที่วัดสิมนาโก ตำบลนาโก อำเภอกุฉินารายณ์
                - พระพิมพ์ดินเผา  พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง  เป็นแบบเดียวกับพระพิมพ์ดินเผาที่พบในเมืองนครจัมปาศรี เมืองกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และยังเหมือนกับพระพิมพ์ดินเผาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาคใต้ พระพิมพ์บางองค์มีจารึกอยู่ด้านหลัง

แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์   แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์
  เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2539
เด็กหญิงสองคนพร้อมด้วย ผู้ปก
ครองไปทานข้าวในวันหยุด ได้พบรอยเท้าประหลาดกลางลาน
หินลำห้วยเหง้าดู่ เชิงเขาภูแฝก บริเวณ
เทือกเขาภูพาน บ้านน้ำคำ ตำบลภู
ูแล่นช้างกิ่งอำเภอนาคูหลังจากนั้น
ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่นักธรณีวิทยา
พร้อมด้วยส่วนราชการ และเอกชน จ.กาฬสินธุ์ ได้เดินทาง
ไปสำรวจจึงพบว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์
 
คลิกดูภาพขนาดใหญ่   ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอเมือง --   กิโลเมตร
อำเภอกมลาไสย 12   กิโลเมตร
อำเภอยางตลาด 16   กิโลเมตร
อำเภอสหัสขันธ์ 39   กิโลเมตร
อำเภอร่องคำ 39   กิโลเมตร
อำเภอสมเด็จ 40   กิโลเมตร
อำเภอนามน 42   กิโลเมตร
อำเภอห้วยเม็ก 48   กิโลเมตร
อำเภอห้วยผึ้ง 60   กิโลเมตร
อำเภอหนองกุงศรี 62   กิโลเมตร
อำเภอกุฉินารายณ์ 79   กิโลเมตร
อำเภอคำม่วง 81   กิโลเมตร
กิ่งอำเภอสามชัย 85   กิโลเมตร
กิ่งอำเภอนาคู 88   กิโลเมตร
อำเภอท่าคันโท 99   กิโลเมตร
อำเภอเขาวง 103   กิโลเมตร
ซากไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว
  พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว
        ตั้งอยู่ที่เชิงภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ สามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ (ทางหลวง 227) ประมาณ 28 กิโลเมตร (ก่อนถึงสหัสขันธ์ 2 กิโลเมตร) มีทางแยกขวาไปวัดสักวันอีก 1 กิโลเมตร วัดนี้เป็นสถานที่ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์จำนวนมาก โดยซากกระดูกบางส่วนได้นำมาจัดแสดงที่ศาลาวัด มีการจัดนิทรรศการแสดงความเป็นมาของบการเกิดไดโนเสาร์ยุคต่างๆ รวมทั้งรูปภาพการขุดค้นพบซากกระดูกเหล่านี้ นอกจากนั้น ห่างจากศาลาวัดไปประมาณ 100 เมตร มีโครงกระดูกไดโนเสาร์ฝังอยู่ในพื้นดินบริเวณเชิงเขา ได้รับการขุดแต่งโดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณีเป็นซาก กระดูกไดโนเสาร์ชนิดซอโรพอต ประมาณ 7 ตัว ซึ่งอยู่ในยุคครีเทเชียส อายุประมาณ130 ล้านปี และในพิพิธภัณฑ์ฯยังมีซากปลาโบราณพันธุ์ใหม่ของโลกซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดมีชื่อว่า"เลปิโดเทส" มีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตรอยู่ในยุคมีโซโซอิก หรือ65ล้านปีที่แล้วซึ่งเป็นช่วงเดียวกับไดโนเสาร์ คาดว่าบริเวณที่พบคงเป็นบึงขนาดใหญ่และเกิดภัยแล้งทำให้ปลาตายและซากถูกโคลนทับไว้กลายเป็นฟอสซิลจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ภายในบริเวณเดียวกันยังมีวัดสักกะวัน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อบันดาลฤทธิผล (หลวงพ่อบ้านด่าน) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยทวารวดี ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
น้ำตกตาดทอง
 
น้ำตกผานางคอย
น้ำตกตาดทอง
        อยู่ในเขตอำเภอเขาวง บนเส้นทาง เขาวงดงหลวง-มุกดาหาร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามด้วยโขดหินสลับซับซ้อน ในฤดูฝนจะเป็นช่วงที่สวยงามที่สุด น้ำตกตาดทองจะจัดให้มีงานขึ้นทุกๆ ปี ในช่วงเดือนตุลาคม รถยนต์สามารถเดินทางเข้าถึงน้ำตกได้โดยสะดวก
  น้ำตกผานางคอย
        เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ไหลมาจากเทือกเขาภูพาน แบ่งเป็นชั้นๆ มีความสวยงามมาก สภาพป่าโดยรอบเขียวขจีอุดมสมบูรณ์ และลักษณะเด่นคือ มีน้ำไหลตลอดปีแม้ในฤดูแล้ง
ประเพณีและเทศกาลน่าสนใจ
  • งานมหกรรมวิจิตรแพรวาราชินีแห่งไหม
    จัดขึ้นปลายเดือนกุมภาพันธ์ จัดขึ้นปลายเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ภายในงานจะประกอบด้วยขบวนแห่ของแต่ละอำเภอ ตกแต่งขบวนเป็นรูปเครื่องดนตรีโปงลางขนาดยักษ์ แต่งกายชุดพื้นเมือง แข่งขันสาวดีดไห และจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองต่างๆ
  • งานมหกรรมโปงลาง แพรวา และกาชาด จังหวัดกาฬสินธุ์
    จัดขึ้นประมาณวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปีจัดขึ้นประมาณวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ณ โรงแรมริมปาว เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ สนับสนุนส่งเสริมและรับงานการทอผ้าไหมแพรวาของชาวผู้ไทยเข้าไว้ในโครงการ ศิลปาชีพในพระบรมราชินูปถัมภ์ จนทำให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชาวผู้ไทยอีกด้วย
   

ครูกาฬสินธุ์ดอทคอม

Webmaster : Koonplan_Namo@hotmail.com ,Windows Server2000
วันที่ 1 เดือน กรกฏาคม พุทธศักราช 2550
Free Web Hosting