อำเภอคำม่วง
.....อำเภอคำม่วง เดิมขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาทางราชการเห็นว่า อำเภอสหัสขันธ์ มีอาณาเขตกว้างใหญ่เกินไปที่จะปกครองดูแลอย่างทั่งถึง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศ จัดตั้งกิ่งอำเภอคำม่วงขึ้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2515 มีพื้นที่การปกครองในขณะนั้น 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งคลอง ตำบลโพน และตำบลสำราญ ต่อมาเมื่อ วันที่ 18 กันยายน 2519 ได้มีพระราชกฤษฏีกา จัดตั้งกิ่งอำเภอคำม่วงเป็น "อำเภอคำม่วง" ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอคำม่วง ตั้งอยู่บ้านคำม่วง หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งคลอง
"คำม่วง" มีความหมายแยกเป็น 2 คำ คือคำว่า "คำ" เป็นการเรียกลักษณะของน้ำที่มีการไหลซึมออกมาตลอดเววลาและคำว่า "ม่วง " เป็นชื่อของต้นไม้ (ต้นมะม่วง) ฉะนั้น คำว่า "คำม่วง" จึงเป็นการเรียกชื่อของต้นไม้ขนาดใหญ่ ที่ขึ้นอยู้กลางลำธารซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วคล้ายมีน้ำไหลจากโคนต้นตลอดเวลาราษฏรจึงได้ตั้งชื่อลำธารนั้นว่า " ลำห้วยคำม่วง"และทางราขการได้นำมาตั้งชื่ออำเภอ จนถึงปัจจุบัน
.....สำหรับคนกลุ่มแรกที่มาจัดตั้งหมู่บ้านนี้เป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากบ้านกุดสิม (ปัจจุบันบ้านกุดสิมอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ) เมื่อรวมกันได้จึงตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเก่าเดื่อ (ปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งคลอง) ต่อมาได้เกิดโรตฝีดาษระบาดและได้ขยายอาณาเขตไปตั้งหมู่บ้านต่างๆอีกมากมายซึ่งขณะนี้มีจำนวน 71 หมู่บ้าน
.....ผ้าไหมแพรวา เป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่เป็นเอกลัษณ์ของชาวบ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผ้าที่ทอด้วยฝีมือที่มีความวิจิตรสวยงาม ของชาวบ้าน ซึ่งเป็นที่นิยมและต้องการของนักท่องเที่ยวหรือสุภาพสตรี คหบดีที่นิยม นำผ้าไหมแพรวาไปตัดเย็บเครื่องแต่งกาย จนกระทั่งผ้าไหมแพรวาได้สร้างชื่อเสียง ให้กับชาวกาฬสินธุ์ เป็นเมืองท่องเที่ยวในด้านสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน ดั่งคำขวัญ ของจังหวัดที่ว่า "กาฬสินธุ์เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา" ด้วยความสำคัญของผ้าไหมจึงถือว่าเป็นศิลปหัตถกรรม เป็นวัฒนธรรม ที่สำคัญ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงประทับพระทัย จึงทรงรับอุปการะ การทอผ้าไหมแพรวาเข้าโครงการมูลนิธิศิลปาชีพ ทรงพัฒนาการทอผ้าไหมแพรวา ไปตัดฉลองพระองค์เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ชาวไทย และชาวต่างประเทศ
ผ้าแพรวา มักนิยมทอด้วยฝ้าย และด้ายไหม ถ้าทอด้วยด้ายฝ้าย เรียกชื่อว่า ผ้าแพรวา การที่จะทอผ้าแพรวาด้วยด้ายชนิดใด ขึ้นอยู่กับว่ามีวัสดุอย่างใดอยู่ก่อนแล้วตามปกติไหม เป็นวัสดุที่หายาก ได้มายากและชาวอีสานถือว่า เป็นของพิเศษจะไม่นำมาใช้อย่างพร่ำเพรื่อ หรือจะไม่นำมาใช้ ตกแต่งกาย เมื่อต้องการกระทำกิจธุระธรรมดา เช่น การทำนา ทำสวน หรือการแต่งกายอยู่กับบ้าน คือจะใช้เฉพาะกรณีพิเศษจริงๆ เช่น แต่งกายไปงานบุญ แต่งกายไปงานกินดอง (แต่งงาน) แต่งกายไป ทำธุระกิจต่างบ้าน ฯลฯ เพราะว่าในความรู้สึกแล้ว ชาวอีสานถือว่า "ผ้าไหม" เป็นของมีค่า เป็นความภูมิใจของเจ้าของที่ได้ใช้และ บ่งบอกถึงชาติตระกูล ฐานะเศรษฐกิจ ฯลฯ ของเจ้าของ และที่เป็น เช่นนี้ก็เพราะถึงแม้ชาวอีสานจะเลี้ยงตัวไหม แทบทุกหลังคาเรือน ก็ตาม แต่เป็นการเลี้ยงเพียงพอใช้เล็กๆ น้อยๆ ต่างจากการปลูกฝ้าย ชาวบ้านจะปลูก จำนวนมาก เพราะฝ้ายนำมาทำเส้นใยแล้วทอเป็นผ้า ใช้สวมใส่ทำงานได้ทุกประเภทไม่ว่างงานหลัก คือ ทำไร่ ทำนา หรือการสวมใส่ไปทำบุญ เดินทางไปไหนๆ ก็อาจนุ่งผ้าที่ทอด้วยฝ้ายได้
.....ในชีวิตความเป็นอยู่แบบพื้นบ้านอีสานแท้ๆ จะมีความเกี่ยว ข้องผูกพันกันอย่างยิ่งกับ "ผ้าแพรวา" กล่าวคือ อย่างเช่น ผ้าแพรวา อย่างผ้าอีโป้ (ผ้าขะม้า,ผ้าขาวม้า) ชาวอีสานจะนำมาใช้งานได้สารพัด ประโยชน์ ผู้ใช้อีโป้ คือ ชายชาวอีสานเท่านั้น โดยใช้เป็นผ้านุ่ง อยู่กับบ้าน (นุ่งลอยชาย) นุ่งอาบน้ำ นุ่งทำงานออกกำลัง (นุ่งกะเตี่ยว, นุ่งเหน็บเดี่ยว) นุ่งนอน โดยใช้เป็นผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าคลุมตัว (แทนเสื้อ) เวลามีแขกมาเยี่ยมบ้าน (กันอุจาดตา เพราะชาวอีสาน เวลาอยู่บ้านไม่นิยมสวมเสื้อ) โดยใช้เป็นของฝากหรือของต้อนรับ เวลามีแขก หรือผู้หลักผู้ใหญ่ต่างบ้านต่างเมืองมาเยี่ยมโดยใช้เป็น ของขะมา (สะมา) โดยใช้เป็นผ้าปูนั่ง ปูนอน โดยใช้เป็นผ้าแขวน เป็นอู่ลูก (เปลนอน) โดยใช้ห่อของ (สะพายของหรือโซนของ) ตลอดจนใช้กั้งแดด (กั้นแดด) หรือใช้เป็นผ้าประดับตกแต่ง (ผ้าปะรำพิธี) ฯลฯ
ด้วยพระเมตตาบารมีของพระองค์ท่าน ที่นำศิลปหัตถกรรมกาฬสินธุ์ออกเผยแพร่ทำให้ผ้าไหมแแพรวากระเป๋าไม้ไผ่ลายขิตมีชื่อเสียง และเป็นที่นิยมกันทั่วไปช่วยให้พระสกนิกรชาวกาฬสินธุ์มีรายได้เพิ่มขึ้น
 
  คำว่า "ผ้าแพรวา" มีความหมายรวมกันได้แก่ "ผ้าทอเป็นผืน มีความยาวขนาด ๑ วา หรือยาว ๑ ช่วงแขน"
จริงๆ แล้ว ในการทอผ้าเพื่อใช้สอยประโยชน์ ชาวอีสาน จะทอให้มีขนาดความยาวติดต่อกันครั้งละหลายๆ วา คือเป็นสิบกว่า วาขึ้นไปที่เรียกว่า ๑ หูก ความยาวที่ทอผ้าแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับเส้น ด้ายวัสดุที่เป็นเส้นตั้ง หรือยืนที่เรียกว่า "เครือหูก" (เครือหูก) หลักจากนั้นก็จะเอาผ้ามาตัดออกเป็นชิ้นๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปใช้ห่ม เรียกผ้าห่ม ก็จะมีขนาดยาว ๒ วา นำไปใช้เป็น ผ้าอีโป้ (ผ้าขาวม้า) ก็จะมีความยาว ประมาณ ๑ วา กับอีก ๑ ศอก นำไปใช้เป็นผ้าห่มตัว (ห่มเฉียง หรือห่มเบี่ยงบ้าย ห่มเคียนนอก ฯลฯ ก็จะมีความยาวประมาณ ๑ วา ( จึงเรียกว่า ผ้าแพรวา)
ผ้าแพรวา ที่เป็นผ้าห่มตัว ซึ่งเป็นของใช้สำหรับสตรี ประโยชน์ได้หลายประการ แต่ที่ใช้กันมาก คือใช้ห่มเฉียงไหล่ (เบี่ยงแพร เบี่ยงบ้าย) ใช้รัดหน้าอก หรือเคียนอก หรือตุ้มอก (ตุ้มเอิ๊ก) ใช้ปูกราบพระ ฯลฯ
 
   

ครูกาฬสินธุ์ดอทคอม

Webmaster : Koonplan_Namo@hotmail.com ,Windows Server2000
วันที่ 1 เดือน กรกฏาคม พุทธศักราช 2550
Free Web Hosting