.....อำเภอสมเด็จ พื้นที่เดิมอยู่กับตำบลหมูม่น อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2485
สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ ( อ้วน ดิสโส ) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสน์ จังหวัดพระนคร ประธานสังฆมนตรีฝ่ายธรรมยุติ ได้จาริกมาตรวจเยี่ยมกิจการคณะสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากอำเภอสหัสขันธ์เพื่อไปอำเภอกุฉินารายณ์ ได้มา
หยุดฉันภัตตราหารเพลที่บ้านหนองกุง ได้พิจารณาเห็นภูมิประเทศและทราบนโยบายของทางราชการว่า จะมีการตัด
ถนนจากจังหวัดกาฬสินธุ์ไปจังหวัดสกลนครซึ่งเส้นทางดังกล่าวจะมาตัดกันเป็นสี่แพร่งในเขตหมู่บ้านหนองกุงและได
้ให้ความเห็นว่าพื้นที่บริเวณต่อไปนี้จะเจริญรุ่งเรืองเป็นบ้านเมืองในอนาคต จึงได้ประทานนามบ้านหนองกุงเสียใหม่ว่า
“บ้านหนองกุงสมเด็จ” ตามสมณศักดิ์ของท่าน
..... ในปี พ.ศ. 2490-2492 ได้มีการสำรวจเส้นทางที่จะตัดถนนจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปจังหวัดสกลนคร และมีการ
เปลี่ยนแปลงปรับปรุงเส้นทางสายอำเภอสหัสขันธ์ ไปอำเภอกุฉินารายณ์เสียใหม่ในบางตอนที่ยังคดเคี้ยวให้เหมาะสม
และสะดวกยิ่งขึ้นจึงเกิดเป็นทางสี่แพร่ง (สี่แยก) ขึ้น ผู้ควบคุมงานบุกเบิกทางได้มาตั้งที่พักแรมอยู่บริเวณสี่แพร่ง เพื่อ
สะดวกแก่การแบ่งคนงานไปทำงานตามเส้นทางต่าง ๆ ทำให้มีผู้อพยพครอบครัวมาจับจองที่ดินที่ทำกินและตั้งถิ่นฐานบ้าน

เรือน มีการจัดทำอาหาร มาขายให้แก่พวกคนงานที่ทำการบุกเบิกเส้นทาง จนเกิดเป็นทำเลการค้าย่อยๆ ขึ้น จากนั้นก็มีผู้อพยพครอบครัวมาอยู่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะชาวจังหวัดร้อยเอ็ดมารวมกันและตั้งบ้านเรือนมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ จุดที่ชาวจังหวัดร้อยเอ็ดมารวมกันตั้งบ้านเรือนอยู่จึงเรียกว่า “คุ้มร้อยเอ็ด” พื้นที่ทางสี่แพร่งตัดกันขึ้นอยู่กับบ้านหนองแวง ทางราชการจึงเรียกว่า “บ้านสี่แยกหนองแวง” ตั้งแต่ขอตั้งเป็นบ้าน ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกว่า “บ้านสี่แยก”
...... ในปี พ.ศ.2495 บ้านสี่แยกหนองแวงมีผู้อพยพอยู่หนาแน่นขึ้น สมควรตั้งเป็นหมู่บ้านได้ทางราชการจึงได้ขอแยกบ้านสี่แยกหนองแวงออกจากบ้านหนองแวง ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่เรียกว่า บ้านสี่แยก ขึ้นตรงต่อตำบลหมูม่น อำเภอสหัสขันธ์ จนถึง พ.ศ.2496 ขุนศรีราชสุรากร นายอำเภอสหัสขันธ์ ในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่าตำบลหมูม่นมีอาณาเขตกว้างขวางมาก สมควรแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 ตำบล คือตำบลหมูม่น และตำบลสมเด็จ โดยใช้นามที่สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ทรง ประทานให้ เป็นตำบลให้ชื่อว่า “ตำบลสมเด็จ” ต้องตามความประสงค์เดิมของสมเด็จพระมหาวีระวงศ์
..... โดยที่มีประชาชนอพยพมาจากแหล่งอื่น เข้ามาอาศัยทำมาหากินในพื้นที่แห่งนี้เป็นจำนวนมากทั้งคนไทยและคนต่างด้าวมีอาคารร้านค้ามากขึ้น จึงได้ขอตั้งเป็นสุขาภิบาล ในปี 2504 เรียกว่า สุขาภิบาลสี่แยก และเนื่องจากหมู่บ้านนี้มีความหนาแน่นขึ้น อย่างรวดเร็ว เชื่อว่าจะเจริญต่อไปในภายภาคหน้า ทางราชการจึงเสนอขอตั้งกิ่งอำเภอขึ้น ครั้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2507 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศแยกตำบลสมเด็จ ตำบลหมูม่น และตำบลแซงบาดาล ออกจากอำเภอสหัสขันธ์ โดยตั้งที่ทำการ กิ่งอำเภอที่บ้านสี่แยก ตำบลสมเด็จ
..... จนถึง ปี พ.ศ. 2512 ทางราชการพิจารณาเห็นว่ากิ่งอำเภอสมเด็จ มีความเจริญและมีผู้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยทำมาหากินเพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็ว สมควรยกฐานะเป็นอำเภอ จึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2512 โดยม ีสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร ) เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ อำเภอบางเขน ขณะนั้น ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดและเจิมป้ายอำเภอ

..........................................................................................................................
  <<น้ำตกแก้งกะอาม
.....อยู่ในเขตบ้านแก้งกะอาม หมู่ที่ 6 ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสมเด็จ ประมาณ 15 กม. เป็นน้ำตกที่กำลังพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ลักษณะน้ำตกเป็นแก่งหินเรียงรายเป็นแนวยาว มีลานหินกว้าง สามารถจัดงานเทศกาลประจำปีได้ มีถ้ำกว้างสามารถเข้า พักผ่อนได้ การเดินทางเข้าชมทิวทัศน์สะดวกทุกฤดูกาล

 
 
พุทธอุทยานอ่างเก็บน้ำห้วยสังเคียบ>>
.....
พุทธอุทยานอ่างเก็บน้ำห้วยสังเคียบ อ.สมเด็จ (ห่างจากจังหวัด ประมาณ 42 ) นอกจากจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทางธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ยังเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธสมเด็จ ชุมเย็นมิ่งเมืองกาฬสินธุ์ อีกด้วย
 
 

ผาเสวย
.....ผาเสวยนี้อยู่บนเทือกเขาภูพานในเขตบ้านแก้งกะอาม หมู่ที่ 6 ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่จริงแล้ว เทือกเขา ภูพานนี้ มีอาณาบริเวณ กินพื้นที่ถึง 3 จังหวัด คือ จังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม โดยเฉพาะ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ชื่อ "ผาเสวย" แต่เดิมไม่ได้ใช้ชื่อนี้ เดิมชาวบ้าน เรียกว่า "ผารังแร้ง" มีทัศนียภาพที่งดงาม ลักษณะเป็นเหวลึก ตั้งอยู่บน หน้าผา สูงชัน ชาวบ้านเรียกกันว่า"เหวหำหด" จน เมื่อ พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จ พระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถเสด็จผ่าน และเสวยพระกระยาหาร กลางวัน จึงเรียก ที่ประทับ แห่งนั้นว่า "ผาเสวย" บนหน้าผาเสวยสามารถชมทัศนียภาพ และเป็นที่ผักผ่อน หย่อนใจ ได้เป็นอย่างดี ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอสมเด็จ 17 กิโลเมตร เส้นทาง สายสมเด็จ - สกลนคร

*พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงฉายภาพ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่บริเวณผาเสวย เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2498*

   

ครูกาฬสินธุ์ดอทคอม

Webmaster : Koonplan_Namo@hotmail.com ,Windows Server2000
วันที่ 1 เดือน กรกฏาคม พุทธศักราช 2550
Free Web Hosting